วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนของไทย

ผู้เขียนได้เสนอรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศซึ่งได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนกันอย่างกว้างขวางพอสมควร นักศึกษาไทยได้ติดตามศึกษา ภามก้าวหน้าด้านวิชาเหล่านี้ และได้นํามาเผยแพร่ในวงการศึกษาไทย ซึ่งได้รับความนิยมมากบ้าง น้อยบางแตกต่างกันไปตามความคิดเห็นและความเชื่อถือของผู้รับ ในขณะเดียวกันได้มีนักคิด นักการศึกษา และครูอาจารย์ ผู้มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้จํานวนหนึ่ง ที่ได้ พยายามคิดค้นหรือพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นจากความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของตน หรือประยุกต์จากทฤษฎีหรือหลักการที่ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว เช่น ประยุกต์จากหลักพุทธธรรม หรือ ประยุกต์จากแนวคิดต่างประเทศ โดยพิจารณาให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของไทย ปัญหาความ ต้องการและธรรมชาติของเด็กไทย กระบวนการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบและ ได้รับการทดลองใช้เพื่อพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพแล้ว ถือว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอนหรือเป็น แบบแผนของการจัดการเรียนการสอนที่ผู้อื่นสามารถนําไปใช้แล้วจะเกิดผลตามวัตถุประสงค์ของ รูปแบบนั้นได้ นับว่าเป็นการช่วยให้แนวทางแก่ผู้ปฏิบัติ ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก หากได้รูปแบบที่ ดี ตรงกับวัตถุประสงค์ในการสอนของตน ก็สามารถสอนตามแบบแผนและได้ผลตามที่ต้องการได้ ใน ประเทศไทยรูปแบบในลักษณะดังกล่าวมาจากกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม คือ นักการศึกษาที่สนใจศึกษาและทําวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนกลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มหนึ่งคือนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาโทและเอกที่ ศึกษาวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ผลงานจากกลุ่มหลังนี้ มีจํานวนมากกว่ากลุ่มแรกมากเนื่องจาก จํานวนนิสิตนักศึกษามีมาก แต่คุณภาพของงานย่อมหลากหลายตามความสามารถของผู้ทําด้วย
นอกจาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ยังมีกลุ่มบุคคลอีก กลุ่มหนึ่ง ทั้งที่อยู่ในวงการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษาและกลุ่มที่อยู่ในวงการอื่นที่ไม่ใช่การศึกษา แต่สนใจในเรื่องการจัดการศึกษา ได้นําเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างเป็นกระบวนการ คือมีขั้นตอนที่เป็นไปอย่างมีลําดับชัดเจน ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ได้รับการทดลองใช้อย่างเป็นระบบและพิสูจน์ ทดสอบประสิทธิภาพตามหลักการแล้วแต่ได้รับความเชื่อถือจากสังคมไม่น้อย ผู้เขียนขอเรียกผลงานใน ลักษณะดังกล่าวว่าเป็น “กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน” ดังนั้นในบทนี้ ผู้เขียนจึงจะ นําเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าวข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ คือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาโดยนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3. กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
อนึ่ง ก่อนนําเสนอรูปแบบและกระบวนการดังกล่าว ผู้เขียนขอทําความเข้าใจก่อนว่า รูปแบบ บางรูปแบบที่นําเสนอและผู้เขียนเรียกว่ารูปแบบการเรียนการสอนนั้น บุคคลที่พัฒนารูปแบบนั้นขึ้นมา อาจไม่ได้เรียกชื่องานของท่านว่าเป็นรูปแบบการเรียนการสอน บางท่านเรียกว่า “การสอน” “รูปแบบการ สอน” “กระบวนการสอน” “การจัดการเรียนการสอน” “การสอนแบบ” ซึ่งโดยความหมายและลักษณะ ของผลงานแล้ว ตรงกับความหมายของ “รูปแบบการเรียนการสอน” ทั้งสิ้น ดังนั้นผู้เขียนจึงขอใช้คําว่า รูปแบบการเรียนการสอนทั้งหมด เพื่อความเป็นระบบระเบียบ และทําให้ผู้อ่านไม่เกิดความสับสน
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย
ผู้เขียนจะนําเสนอ 4 รูปแบบดังนี้
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมร วิวัฒน์
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ พัฒนาโดย สุมน อมร วิวัฒน์
1.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดเป็นเพื่อการดํารงชีวิตในสังคมไทย พัฒนา โดยหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA) พัฒนา โดย ทิศนา แขมมณี
1.1 รูปแบบการเรียนการสอนทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์พัฒนาโดยสุมน อมรวิวัฒน์
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
สุมน อมรวิวัฒน์ (2533 : 168 – 170) ได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้ขึ้นมาจาก แนวคิดที่ว่า การศึกษาที่แท้ควรสัมพันธ์สอดคล้องกับการดําเนินชีวิต ซึ่งต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ต่างๆ ซึ่งมีทั้งทุกข์ สุข ความสมหวังและความผิดหวังต่างๆ การศึกษาที่แท้ควรช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่ จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น และสามารถเอาชนะปัญหาเหล่านั้นได้โดย
1. การเผชิญ ได้แก่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจภาวะที่ต้องเผชิญ
2. การผจญ คือการเรียนรู้วิธีต่อสู้กับปัญหาอย่างถูกต้องตามทํานองคลองธรรมและมี หลักการ
3. การผสมผสาน ได้แก่การเรียนรู้ที่จะผสมผสานวิธีการต่างๆ เพื่อนําไปใช้แก้ปัญหา ได้สําเร็จ
4. การเผด็จ คือ การลงมือแก้ปัญหาให้หมดไป โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องต่อไปอีก ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการต่างๆ จํานวนมาก อาทิ กระบวนคิด ( โยนิโสมนสิการ) กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการประเมินค่าและตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ฯลฯ รวมทั้งพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ในการ แก้ปัญหาและการดํารงชีวิต
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
กระบวนการดําเนินการมีดังนี้ (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533 : 170 – 171 ; 2542 : 55 -
146)
1. ขั้นนํา การสร้างศรัทธา
            1.1 ผู้สอนจัดสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของ บทเรียน และเร้าใจให้ผู้เรียนเห็นความสําคัญของบทเรียน
1.2 ผู้สอนสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน และแสดงความรักความเมตตาความจริงใจ ต่อผู้เรียน
2. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนหรือผู้เรียนนําเสนอสถานการณ์ปัญหา หรือกรณีตัวอย่าง มาฝึกทักษะ
คิดและปฏิบัติในกระบวนการเผชิญสถานการณ์
2.2 ผู้เรียนฝึกทักษะการแสวงหาและรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และ หลักการต่างๆ โดยฝึกหัดการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารกับแหล่งอ้างอิงหลายๆ แหล่ง และตรวจสอบ ลักษณะของข้อมูลข่าวสารว่าเป็นข้อมูลข่าวสารที่ง่ายหรือยาก ธรรมดาหรือซับซ้อน แคบหรือกว้าง คลมเครือหรือชัดเจน มีความจริงหรือความเท็จมากกว่า มีองค์ประกอบเดียวหรือหลายองค์ประกอบ มี ระบบหรือยุ่งเหยิงสับสน มีลักษณะเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม มีแหล่งอ้างอิงหรือเลื่อนลอย มีเจตนาดี หรือร้าย และเป็นสิ่งที่ควรรู้หรือไม่รู้
2.3 ผู้เรียนฝึกสรุปประเด็นสําคัญ ฝึกการประเมินค่า เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาว่า ทางใดดีที่สุด โดยใช้วิธีคิดหลายๆ วิธี (โยนิโสมนสิการ) ได้แก่ การคิดสืบสาวเหตุปัจจัย การคิดแบบ แยกแยะส่วนประกอบ การคิดแบบสามัญลักษณ์ คือคิดแบบแก้ปัญหา คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ คิดให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและความมุ่งหมาย คิดแบบคุณโทษทางออก คิดแบบคุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม คิดแบบใช้อุบายปลุกเร้าคุณธรรมและคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน
2.4 ผู้เรียนฝึกทักษะการเลือกและตัดสินใจโดยการฝึกการประเมินค่าตามเกณฑ์ที่ ถูกต้อง ดีงาม เหมาะสม ฝึกการวิเคราะห์ผลดี ผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากทางเลือกต่างๆ และฝึกการใช้ หลักการ ประสบการณ์ และการทํานาย มาใช้ในการเลือกหาทางเลือกที่ดีที่สุด
2.5 ผู้เรียนลงมือปฏิบัติตามทางเลือกที่ได้ให้ไว้ ผู้สอนให้คําปรึกษาและแนะนํา ฉันกัลยาณมิตร โดยปฏิบัติให้เหมาะสมกับหลักสัปปุริสธรรม 7
3. ขั้นสรุป
3.1 ผู้เรียนแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การพูด เขียน แสดง หรือกระทําใน รูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับความสามารถและวัย
3.2 ผู้เรียนและผู้สอนสรุปบทเรียน 3.3 ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหา และสามารถคิดและตัดสินใจได้ อย่างเหมาะสม
1.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการโดย สุมน อมรวิวัฒน์
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
ในปี พ.ศ. 2526 สุมน อมรวิวัฒน์ นักการศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและมีผลงานทาง การศึกษาจํานวนมาก ได้นําแนวคิดจากหนังสือพุทธธรรมของพระราชวรมุณี (ประยุทธ์ ปยุตโต) เกี่ยวกับ การสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มาสร้างเป็นหลักการและขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่า ครูเป็นบุคคลสําคัญที่สามารถจัดสภาพแวดล้อม แรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาที่จะเรียนรู้ การฝึกฝนวิธีการคิดโดยแยบคายและนําไปสู่การ ปฏิบัติจนประจักษ์จริงโดยครูทําหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ศิษย์มีโอกาสคิด และแสดงออกอย่างถูกวิธี จะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม สุมน อมรวิวัฒน์ 2533 : 161)
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด ( โยนิโนมนสิการ) การตัดสินใจและการ แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
1. ขั้นนํา การสร้างเจตคติที่ดีต่อครู วิธีการเรียนและบทเรียน
1.1 จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เหมาะสม ได้แก่ เหมาะสมในระดับของชั้น วัย ของผู้เรียน วิธีการเรียนการสอนและเนื้อหาของบทเรียน
1.2 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับศิษย์ ครูเป็นกัลยาณมิตร หมายถึงครูทํา ตนให้เป็นที่เคารพรักของศิษย์ โดยมีบุคลิกภาพที่ดี สะอาด แจ่มใส และสํารวม มีสุขภาพจิตดี มีความ มั่นใจในตนเอง
1.3 การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ
            ก. ใช้สื่อการเรียนการสอน หรืออุปกรณ์และวิธีการต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจ เช่น การจัดป้ายนิเทศ นิทรรศการ เสนอเอกสารภาพ กรณีปัญหา กรณีตัวอย่าง สถานการณ์จําลอง เป็น
ข. จัดกิจกรรมขั้นนําที่สนุก น่าสนใจ
ค. ศิษย์ได้ตรวจสอบความรู้ ความสามารถของตน และได้รับทราบผลทันที
2 ขั้นสอน
2.1 ครูเสนอปัญหาที่เป็นสาระสําคัญของบทเรียน หรือเสนอหัวข้อเรื่องประเด็น สําคัญของบทเรียนด้วยวิธีการต่างๆ
2.2 ครูแนะนําแหล่งวิทยาการและแหล่งเรียนรู้
2.3 ครูฝึกการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ และหลักการ โดยใช้ทักษะที่เป็น ในเครื่องมือของการเรียนรู้ เช่น ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และทักษะทางสังคม
2.4 ครูจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือค้นคว้า คิดวิเคราะห์ และสรุป ความคิด
2.5 ครูฝึกการสรุปประเด็นของข้อมูล ความรู้ และเรียงเทียบประเมินค่า โดย วิธีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทดลอง ทดสอบ จัดเป็นทางเลือกและทางออกของการแก้ปัญหา
2.6 ศิษย์ดําเนินการเลือกและตัดสินใจ
2.7 ศิษย์ทํากิจกรรมฝึกปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ผลการเลือก และการตัดสินใจ
3. ขั้นสรุป
3.1 ครูและศิษย์รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตการณ์ปฏิบัติทุกขั้นตอน
3.2 ครูและศิษย์อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับข้อมูลที่ได้
3.3 ครูและศิษย์สรุปผลการปฏิบัติ
3.4 ครูและศิษย์สรุปบทเรียน
3.5 ครูวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะในการคิด การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้


แผนการจัดการการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทําขึ้นให้ผู้สอนได้นําไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการการจัดการเรียนรู้ เพื่อนําผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษาผู้สอนยาจต้องปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียน อน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้ โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์ เมียน หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทําแผน การเรียนรู้ หรือในการปรับปรุงการสอน เพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็น อย่างดี ในหลายๆ ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ค้านเทคนิควิธี ตลอดจนการนําสื่อมาใช้ เป็นต้น


ข้อควรคํานึงถึงในการทําแผนจัดการเรียนรู้
การทําแผนจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้า โดยต้องคํานึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของ หลักสูตรให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ตลอดจนต้องศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกําหนดก่อนที่จะลงมือ ทําแผนจัดการเรียนรู้
2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทําความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ ชัดเจนจนสามารถกําหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
3. กําหนดขอบเขตของเนื้อหา บทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆ ที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่าย กว้างขวาง ตลอดจนความสามารถของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
4. ทําความเข้าใจเนื้อหาวิชาที่จะสอนอย่างแจ่มแจ้ง ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งการหาความรู้ เพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วัยวุฒิภาวะของผู้เรียน และควรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด สําหรับที่จะสอนเรื่องนั้นๆด้วย
6. พิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมวิธีการสอน
7. กำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนําไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการ เรียนรู้ที่แท้จริงแก่ผู้เรียน
8. ดําเนินการวัดและประเมินผลทุกครั้งที่ทําการสอน ด้วยวิธีต่างๆที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กําหนดไว้
ลักษณะของแผนจัดการเรียนรู้ที่ดี
แผนจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีลักษณะต่างๆดังนี้
1. มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชก โรงเรียนด้วย
2. พิจารณากําหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของ เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ และให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลําดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อม เชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. ควรมีการกําหนดกิจกรรม และประสบการณ์คํานึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อมการ ความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอน
องค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรู้
แผนจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป มีองค์ประกอบดังนี้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสําคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
การปรับแผนจัดการเรียนรู้โดยทั่วไปที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ หรือกรมวิชาการหรือ สํานักพิมพ์ต่างๆ จัดทําขึ้นนั้น เป็นแผนจัดการเรียนรู้กลางๆ ที่เป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นําไปใช้ เหมือนกันทั้งประเทศ ดังนั้น เมื่อจะนํามาใช้จริงๆ ในห้องเรียนผู้สอนจะต้องปรับแผนนั้นๆ เสียก่อน โดยอาจเพิ่มหรือลด ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนที่สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันทําขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับวัยความต้องการ และสภาพแวดล้อม ของผู้เรียนแผนจัดการเรียนรู้ที่ปรับแล้วดังกล่าว จึงเป็นแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่ผู้สอนสามารถ นําไปใช้สอนได้จริงๆ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปรับแผนจัดการเรียนรู้ในที่นี้หมายถึง การที่ผู้สอนนํา แผนจัดการเรียนรู้ที่มีการจัดทําไว้แล้วมาตีความ ขยาย ลดเพิ่ม หรือดัดแปลงปรับปรุงให้เหมาะสม
การปรับแผนจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบต่างๆ ในข้างต้น สามารถปรับได้ตามขอบเขตของ การปรับแผนจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนจัดการเรียนรู้จะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้ -สงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลหรือวัดได้ โดยคํานึงถึงจุดประสงค์ทั่วไปที่กําหนด
เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามาร ไว้ในหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นสําคัญ
2. เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนจัดการเรียนรู้ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหา ไว้เป็นเพียงหัวข้อหยาบๆ หรือเป็นเพียงเค้าโครงเท่านั้น ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียด เพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการปรับเนื้อหาจึงสามารถทําได้ดังนี้
2.1 ปรับส่วนของเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน โดยนําเนื้อหาที่เป็น
หัวข้อ หรือที่เป็นเค้าโครงนั้นมาทําให้ละเอียดชัดขึ้น
2.2 ปรับส่วนของเนื้อหาต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น โดยการนําเนื้อหามาพิจารณา และปรับให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น
2.3 จัดเรียงลําดับหมวดหมู่ของเนื้อหาเสียใหม่โดยนําเนื้อหาที่กําหนดได้มาจัดเป็นหมวด เป็นหม่ เป็นพวก เป็นกลุ่มหรือบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อสะดวกแก่การสอน
3. กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนจัดการเรียนรู้ได้กําหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อ เป็นแนวทางในการสอน และช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กําหนดไว้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนจัดการเรียนรู้บางหน่วย ผู้สอนอาจจะ ดัดแปลง หรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียนได้ โดยจะต้องคํานึงว่ากิจกรรมการเรียนการสอน นั้นๆ ต้องเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ มุ่งฝึกปฏิบัติและฝึกทักษะในการแก้ปัญหาและสามารถช่วยให้ผู้เรียน ผ่านจุดประสงค์ของการเรียนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
4. สื่อการเรียนการสอน ที่กําหนดไว้ในแผนจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยของจริง ของจําลอง วัสดุอุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพและอื่นๆซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทอื่นๆที่ หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสนุกสนานในบทเรียนและอยากจะเข้าร่วม ในกิจกรรมการเรียนมากขึ้น
5. การประเมินผล ในแผนจัดการเรียนรู้กลางของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้ กําหนดวิธีการประเมินผลไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกและแนะนํามาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียน วัยวุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน ตามจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้
รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆ ได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ตามลักษณะการเขียน แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
1.1 แบบเรียงหัวข้อ เป็นแผนจัดการเรียนรู้ที่เสนอแผนโดยเขียนเรียงลําดับตามหัวข้อที่ กําหนดไว้ก่อนหลัง โดยไม่ต้องคีตาราง รูปแบบนี้มีข้อดีคือ สะดวกแก่ผู้สอนในการเรียน เพราะจะไม่ เสียเวลาในการตีตาราง เขียนได้ง่ายกระชับ แต่มีข้อจํากัด คือยากต่อการตรวจดูความสอดคล้องสัมพันธ์ ของแต่ละหัวข้อเพราะเขียนอยู่คนละหน้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแผนจัดการเรียนรู้รูปแบบเรียงหัวข้อนี้จะมี ความยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ โดยเขียนเรียงกันตามหัวข้อต่อไปนี้
1.1.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
1 1.1.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอน และเวลาที่สอนเป็นคาบหรือชั่วโมง
1.1.3 ชื่อหัวเรื่อง
1.1.4 ความคิดรวบยอด
1.1.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.1.7 สื่อการเรียนการสอน
1.1.8 การประเมินผล
1.1.9 หมายเหตุ
1.2 แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้บางครั้งนิยมเรียกสั้นๆ ว่า จัดการเรียนรู้แบบกึ่งตาราง เป็นแผนจัดการเรียนรู้ที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง และ รายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง โดยส่วนที่เขียนเรียงความหัวข้อมีดังนี้
1.2.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
1.2.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอนและเวลาที่สอนเป็นคาบ
1.2.3 ชื่อหัวเรื่อง
1.2.4 ความคิดรวบยอด
1.2.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.2.6 เนื้อหา
1.2.7 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.2.8 สื่อการเรียนการสอน
1.2.9 ประเมินผล
1.2.10 หมายเหตุ
การเขียนแผนจัดการเรียนรู้แบบกึ่งตารางนี้มีข้อดีที่กําหนดขั้นตอนการสอนตามเนื้อหากําหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและประเมินผลอย่างละเอียด ทําให้ผู้สอนที่นําแผน จัดการเรียนรู้ไปใช้สามารถทําแผนจัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้ได้โดยสะดวก ส่วนข้อจํากัด คือ แผนจัดการเรียนรู้แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตารางนี้ จะทําให้ยากกว่าแบบเรียงหัวข้อ เพราะจะต้องตีตาราง มีการ กรอกข้อความลงในตารางที่จะต้องมีความชัดเจน และสัมพันธ์กันโดยตลอด
2. รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ตามลักษณะของการใช้ การสอนในระดับต่างๆ ได้แก่อนุบาล - ชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษา และอุดมศึกษานั้น ย่อมมีรูปแบบของ แผน - เรียนรู้ที่แตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการใช้ในแต่ละระดับชั้น ซึ่งพอสรุป รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับระดับชั้นได้ ดังนี้
2.1 ระดับอนุบาลและช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา นิยมใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบถึง เพราะทําให้ผู้สอนสามารถกําหนดกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับจุดประสงค์ สือการ
สอนและการประเมินผลได้ชัดเจน
2.2 ระดับช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษานิยมใช้แบบกึ่งตารนในระดับมัธยมศอนต้น ม.1 ส่วนช่วงชั้นที่4 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) นิยมใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อ
2.3 ระดับอุดมศึกษา นิยมใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อเพราะกะทัดรัดและผู้สอน สามารถเขียนแผนจัดการเรียนรู้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก
ขั้นตอนในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
ก่อนที่จะลงมือเขียนแผนจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรได้ศึกษารายละเอียศตามขั้นตอนในการเขียน แผนจัดการเรียนรู้ ตามหัวข้อต่างๆ โดยศึกษาจากคําหนดการสอนและตารางสอนว่าเรื่องที่จะสอนนั้น เป็นเรื่องอะไร ใช้เวลาสอนกี่คาบ แล้วศึกษาแผนจัดการเรียนรู้แม่บทของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และคู่มือครู โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแผนจัดการเรียนรู้แม่บท และปรับแผนจัดการเรียนรู้โดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหาโดยย่อย ลงไปในการแบ่งหัวข้อของเนื้อหาจะแบ่งย่อยพอที่จะสอนในแต่ละครั้ง ซึ่งเวลาที่จะสอนในแต่ละครั้งจะ ไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหาและการจัดตารางสอนของแต่ละโรงเรียน
2 ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของแม่บทนั้นหรือเรื่องนั้นให้เข้าใจ
3. ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหลายของสาระนั้น เพื่อทําความเข้าใจว่าสอนแบบนี้ แล้ว ผู้เรียนทําอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทดสอบการ เรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
4. ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง สอดคล้องกับความคิดรวบยอดและจุดประสงค์ที่ กําหนดได้หรือไม่ เนื้อหาแต่ละเรื่องสอดคล้องกับสาระในจุดประสงค์ข้อใด และความคิดรวบยอดข้อใด
5. ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหา หรือไม่ จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร และถ้าทําเองจะทันเวลาหรือไม่
6. ศึกษาการวัดผลและการประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนว่าใช้วิธีการอย่างไร วิธีเหล่านั้น เหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมที่กล่าวไว้หรือไม่

การเขียนแผนจัดการเรียนรู้
จากองค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรู้รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้และขั้นตอนในการ เขียนแผนจัดการเรียนรู้เราสามารถนํามาเขียนเป็นแผนจัดการเรียนรู้ระดับชั้นต่างๆ หรือตามความ ต้องการและความละเอียดในการใช้ได้ตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น เมื่อกําหนดที่จะทําแผนจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระหรือ เนื้อหาใดควรเขียนให้ละเอียด เช่น กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่3 เรื่องการ เขียนเรียงความ เป็นต้น
2. ชื่อหน่วย หัวเรื่อง เวลาและวันที่เมื่อกําหนดกลุ่มสาระหรือเรื่องที่จะสอนแล้วให้ดใน แผนการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ศึกษาหน่วยที่เท่าไร เช่นหน่วยที่ 2 ชีวิตในบ้าน เรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว เวลา 17 คาบวันที่ 7 สิงหาคม 2549 เป็นต้น
3. มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด ซึ่งหมายถึงสาระสําคัญข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่ เกิดกับผู้เรียนในลักษณะที่สั้นที่สุดความคิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับประสบการณ์และเกิดการ เรียนรู้เรื่องนั้นแล้ว มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดนี้จะเป็นทักษะที่เป็นแก่นแท้ของเนื้อหาวิชาความคิด รวบยอดของแต่ละคนที่เกี่ยวกับสิ่งเดียวกันอาจไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ต่างๆ กันและความคิด รวบยอดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ต่างจากเดิม แต่เมื่อผู้เรียนเกิด การเรียนรู้แล้วผู้เรียนจะต้องสรุปลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นเมื่อพบสิ่งใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับสิ่งที่เคยพบมาก่อนก็สามารถบอกได้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นสิ่งใหม่ ตัวอย่างความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ เช่นเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว มีความคิดรวบยอดว่าการที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี ครอบครัวย่อมมีความสุข เป็นต้นบางแผนจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นอุดมศึกษา หัวข้อนี้อาจ ใช้คําว่าสาระสําคัญหรือแนวคิดก็ได้
4. คุณสมบัติที่ต้องการเน้น โดยทั่วไปแผนจัดการเรียนรู้เดิมจะไม่มีการเขียนไว้ แต่การเรียนการสอนในปัจจุบันจะเน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่างๆโดยในการสอนแต่ละครั้งผู้สอนควรจะพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนที่สอนในแต่ละครั้งว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการ เรียนรู้และคุณธรรม 30 ข้อในจริยศึกษาข้อใดบ้างที่มีคุณสมบัติที่ต้องการเน้นผู้เรียนทํางานร่วมกันคุณสมบัติที่ต้องการเน้นก็อาจจะได้แก่ ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความมีเหตุผลเป็นต้น ในส่วน ของคุณสมบัติที่ต้องการเน้นตามมาตรฐานการเรียนผู้นี้ในแผนจัดการเรียนรู้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นจุดประสงค์ที่สังเกตและวัดได้เมื่อผู้เรียนศึกษาหรือเรียนเรื่อง นั้นๆแล้วเกิดการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในปัจจุบันตามแผนการจัดการเรียนรู้นิยมเขียนจุดประสงค์ในแผนจัดการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้เป็น 2 ประเภท
5.1 จุดประสงค์ทั่วไป หรือในแผนจัดการเรียนรู้ใช้คําว่า จุดประสงค์ปลายทางซึ่งหมายถึง กําหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ จบสิ้นลง น ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอากาศและประโยชน์ของอากาศต่อสิ่งมีชีวิตได้ เป็นต้น
52 จุดประสงค์เฉพาะในแผนจัดการเรียนรู้ใช้คําว่า จุดประสงค์นําทางซึ่งหมายถึงการกําหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนในรูปแบบของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้วซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้ เช่น เมื่อผู้เรียนศึกษาอากาศและส่วนประกอบของอากาศจบแล้ว ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของอากาศและบรรยากาศได้ อธิบายส่วนประกอบของอากาศได้ ระบุประโยชน์ของอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ เป็นต้น
6. เนื้อหา ในปัจจุบันอาจใช้สาระการเรียนรู้เป็นเนื้อหาสาระของบทเรียนในระดับชั้นต่างๆที่ กําหนดไว้ในหลักสูตรของระดับชั้นนั้นๆเนื้อหาที่กําหนดไว้นี้จะเป็นเพียงหัวข้อเรื่อง หรือเค้าโครงเรื่อง สั้นๆ เท่านั้นผู้สอนจําเป็นต้องนําหัวข้อหรือเค้าโครงเหล่านั้นมาขยาย ศึกษาและหารายละเอียดเพิ่มเติม จากเอกสารต่างๆ เขียนบันทึกขยายความในแผนจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจนว่าต้องสอนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้นๆ มีขอบเขตของเนื้อหากว้างขวางลึกซึ้งเพียงใด
7. กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันนิยมยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางฉะนั้นผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม เพื่อนําไปใช้ในการเรียน การสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพของตนในขณะที่เรียนได้อย่างเต็มที่ มีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และสติปัญญา(รายละเอียดของเรื่องกิจกรรมการเรียนการ สอนได้นําเสนอไว้ในเอกสารคําสอน บทที่ 14)กิจกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปในแผนจัดการ เรียนรู้ จะแบ่งออกเป็น4 ชั้น ได้แก่ ชั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นสรุปและขั้นวัดผล สําหรับขั้น วัดผลนี้อาจอยู่ในส่วนของการประเมินผล
8. สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือหรือวิธีการต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนการสอน ทั้งสิ้นซึ่งสื่อการเรียนการสอนนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษาอยากเรียน อยาก รู้ และในบางครั้งช่วยเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองได้ อีกด้วย ผู้สอนควรมีทักษะในการเลือกใช้ การใช้การทํานุบํารุงรักษา ตลอดจนการประดิษฐ์สื่อการ เรียนการสอนขึ้นใช้เองหรือแสวงหาจากท้องถิ่นของตนโดยคํานึงถึงการประหยัดทั้งทุนทรัพย์และเวลา เป็นสําคัญ
9. การประเมินผล การประเมินผลนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการวัดผลในกระบวนการเรียนการ สอน ผู้สอนนําผลจการวัดด้วยวิธีการต่างๆเช่นการตอบคําถาม การเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างเรียนการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ การทําแบบฝึกหัด เป็นต้นมาประเมินผลโดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ จะทําให้ผู้สอนสามารถทราบได้ว่าผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของ


การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ


8. การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอแนะการจัดการเรียนการสอน 12 กระบวนการ ด้วยกัน ดังนี้ (กรมวิชาการ 2534)
8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
8.9 กระบวนการกลุ่ม
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
3.12 กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2534) ได้ให้ความหมายของการสอนที่เน้นกระบวนการไว้ ว่า เป็นการสอนที่
ก. สอนให้ผู้เรียนสามารถทําตามขั้นตอนได้และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนําไปใช้ได้ จริงในสถานการณ์ใหม่ๆ
ข. สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจนเกิดทักษะ สามารถนําไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติ การสอนกระบวนการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1. ครูมีความเข้าใจและใช้กระบวนการนั้นอยู่
2. ครูนําผู้เรียนผ่านขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการทีละขั้นอย่างเข้าใจครบถ้วนครบวงจร
3. ผู้เรียนเข้าใจและรับรู้ขั้นตอนของกระบวนการนั้น
4. ผู้เรียนนํากระบวนการนั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
5. ผู้เรียนใช้กระบวนการนั้นในชีวิตประจําวันจนเป็นนิสัย
จะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้ผู้สอนจะต้องเป็นผู้วางแผน นําให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการ เรียนรู้จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น กระบวนการที่ใช้จะเป็นกระบวนการใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับ จุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสําคัญ
8.1 ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
1. ตระหนักในปัญหาและความจําเป็น
ครูยกสถานการณ์ตัวอย่างและกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในปัญหาความจะเป็นของ เรื่องที่ศึกษา หรือเห็นประโยชน์และความสําคัญของการศึกษาเรื่องนั้นๆ โดยครูอาจนําเสนอเป็นกรณีตัวอย่าง หรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบ เช่น รูปภาพ วิดีทัศน์ สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ ฯลฯ
2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคําถาม ทําแบบฝึกหัด และให้โอกาส ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
3. สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย โดยร่วมกันคิดเสมอ ทางเลือก และอภิปรายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้น
4. ประเมินและเลือกทางเลือก
ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหาและร่วมกันสร้างเกณฑ์โดย คํานึงถึงปัจจัย วิธีดําเนินการ ผลผลิต ข้อจํากัด ความเหมาะสม กาลเทศะ เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกแนว ทางการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้วิธีระดมพลังสมอง อภิปราย ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ฯลฯ
5. กําหนดและลําดับขั้นตอนการปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนวางแผนในการทํางานของตนเองหรือหลุ่มโดยอาจใช้สําคับขั้นการ คําเนินงานดังนี้
              5.1 ศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน
            5.2 กําหนดวัตถุประสงค์
            5.3 กําหนดขั้นตอนการทํางาน
            5.4 กําหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทําร่วมกันเป็นกลุ่ม)
            5.5 กําหนดระยะเวลาการทํางาน
             5.6 กําหนดวิธีการประเมิน
6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กําหนดไว้ด้วยความสมัครใจ ตั้งใจมีความกระตือรือร้น และเพลิดเพลินกับการทํางาน
7. ประเมินระหว่างปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนสํารวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถามอภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามแผนงานที่กําหนดไว้ โดยสรุปผลการ ทํางานแต่ละช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการทํางานขั้นต่อไป
8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ผู้เรียนนําผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
9. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
ผู้เรียนสรุปผลการดําเนินงาน โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กําหนด ได้อื่นๆ ซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ
8.2 กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
1. สังเกต
             ให้ผู้เรียนรับรู้ข้อมูล และศึกษาด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้สื่อประกอบเพื่อกระตุ้นให้ ผู้เรียนเกิดข้อกําหนดเฉพาะด้วยตนเอง
2. จําแนกความแตกต่าง
ให้ผู้เรียนบอกถึงความแตกต่างของสิ่งที่รับรู้และให้เหตุผลในความแตกต่างนั้น
3. หาลักษณะร่วม
                ผู้เรียนมองเห็นความเหมือนในภาพรวมของสิ่งที่รับรู้ และสรุปเป็นวิธีการ หลักการ คําจํากัดความ หรือนิยาม
4. ระบุชื่อความคิดรวบยอด
                  ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่รับรู้
5. ทดสอบและนําไปใช้
               ผู้เรียนได้ทดลอง ทดสอบ สังเกต ทําแบบฝึกหัด ปฏิบัติ เพื่อประเมินความรู้
8.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ความจํา จนถึงขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามแนวคิดของ บลูม (Bloom) หรือแนวความคิด ของกานเย่ (Gagne) ซึ่งเริ่มจากการเรียนรู้สัญลักษณ์ทางภาษาจนเชื่อมโยงเป็นความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์ และนํากฎเกณฑ์ไปใช้ผู้สอน ควรพยายามใช้เทคนิคต่อไปนี้ ซึ่งไม่จําเป็นต้องใช้เป็นขั้นๆ อาจจะเลือกใช้ เทคนิคใดก่อนหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ความพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนผ่าน ขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสังเกต
     ให้ผู้เรียนทํากิจกรรมรับรู้แบบปรนัยให้เกิดความเข้าใจ ได้ความคิดรวบยอด เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุปเป็นใจความสําคัญครบถ้วน ตรงตามหลักฐานข้อมูล
2. อธิบาย
            ให้ผู้เรียนตอบคําถาม แสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กําหนด เน้นการใช้เหตุผล ด้วยหลักการ กฏเกณฑ์และอ้างหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. รับฟัง
             ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็น คําวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อความคิดของ โต้ตอบ และแสดงความคิดเห็นของตน ฝึกให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเดิมของตนตามเหe. โดยไม่ใช้อารมณ์
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
             ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่าง และความคล้ายคลึงของสิ่งต่าง ๆ กลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน เชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงสาเหตุและผล หากกฎเกณฑ์การเชื่อมโยง อุปมาอุปไมย
5. วิจารณ์
                จัดกิจกรรมให้วิเคราะห์เหตุการณ์ คํากล่าว แนวคิด หรือการกระทํา แล้วให้ จุดเด่น จุดด้อย ส่วนดี - ส่วนเสีย ส่วนสําคัญ ไม่สําคัญจากสิ่งนั้น ด้วยการยกเหตุผลหลักการมาปล การวิจารณ์
6. สรุป
             จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วนประกอบของการกระทําหรือข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อมโยง เกี่ยวข้องกัน แล้วให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
            กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด
1. สังเกต
             ให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูล รับรู้และทําความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุป และ ตระหนักในปัญหานั้น
2. วิเคราะห์
            ให้ผู้เรียนได้อภิปราย หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพ สาเหตุ และลําดับความสําคัญของปัญหา
3. สร้างทางเลือก
            ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายซึ่งอาจมีการทดลอง ค้นคว้า ตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทํากิจกรรมกลุ่มและควรมีการกําหนดหน้าที่ในการทํางาน ให้แก่ผู้เรียนด้วย
4. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
              ผู้เรียนปฏิบัติตามแผนงานและบันทึกการปฏิบัติงาน เพื่อรายงานและตรวจสอบความ ถูกต้องของทางเลือก
5. สรุป
            ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งอาจจัดทําในรูปของรายงาน
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสนใจ เอาใจใส่ รับรู้ เห็นคุณค่า หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ขั้นตอนการ
ในปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิด ดําเนินการมีดังนี้
1.สังเกต
             ให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่ และเห็นคุณค่า
2. วิจารณ์
                ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรง เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หาสาเหตุและ ผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
3. สรุป
             ให้อภิปรายหาข้อมูลหรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนักและ วางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเกิดทักษะ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกตรับรู้
              ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความคิดรวบยอด
2. ทําตามแบบ
             ทําตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอน จากขั้นพื้นฐานไปสู่งานที่ซับซ้อนขึ้น
3. ทําเองโดยไม่มีแบบ
            เป็นการให้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง
4. ฝึกให้ชํานาญ
            ให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชํานาญหรือทําได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจเป็น งานชิ้นเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
กระบวนการนี้มี 2 วิธีการ คือ สอนทักษะทางคิดคํานวณและทักษะแก้ปัญหาโจทย์ การสอน ทักษะการคิดคํานวณมีขั้นตอนย่อย คือ สร้างความคิดรวบยอดของคํา นิยามศัพท์ สอนกฏโดยวิธีอุปนัย (สอน จากตัวอย่างไปสู่กฏเกณฑ์ใหม่) ฝึกการวินิจฉัย ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ส่วนการสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์ มีขั้นตอนย่อยคือ แปล โจทย์ในเชิงภาษา หาวิธีแก้ปัญหา โจทย์ วางแผน ปฏิบัติตามขั้นตอน และตรวจสอบคําถาม
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษามีขั้นตอนดังนี้
1. ทําความเข้าใจสัญลักษณ์ สื่อ รูปภาพ รูปแบบเครื่องหมาย
             ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคํา กลุ่มคํา ประโยคและถ้อยคําสํานวนต่างๆ
2. สร้างความคิดรวบยอด
                   ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์นํามาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับ สิ่งที่เรียนด้วยตนเอง
3. สื่อความหมาย ความคิด
                  ผู้เรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้
4. พัฒนาความสามารถ
               ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอนคือความรู้ความจํา ความเข้าใจ การนําไปใช้ การ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
8.9 กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทํางานร่วมกัน โดยเน้นกิจกรรมดังนี้
1. มีผู้นํากลุ่ม ซึ่งอาจผลัดเปลี่ยนกัน
2. วางแผนกําหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อมีการปฏิบัติ
5. ติดตามผลการปฏิบัติ และปรับปรุง
6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของคณะ
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่แทรกได้กับทุกเนื้อหา เน้นความรู้สึกที่ดีต่อกลุ่มที่เรียน อาจเป็นความคิด หลักการ การกระทํา เหตุการณ์ สถานการณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต
              ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์ การกระทําที่เกี่ยวข้องกับการมีเจตคติที่ดีและเจตคติ
2. วิเคราะห์
     ผู้เรียนพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา แยกเป็นการกระทําที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่า พอใจ และการกระทําที่ไม่เหมาะสมได้ผลที่ไม่น่าพอใจ
3. สรุป
              ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเกิดการยอมรับและเห็น คุณค่าของค่านิยมด้วยตนเอง มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
              ผู้เรียนพิจารณาการกระทําที่เหมาะสมและการกระทําที่ไม่เหมาสม รับรู้ความหมาย จําแนกการกระทําที่แตกต่างกันได้
2. ประเมินเชิงเหตุผล
     ผู้เรียนใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่มแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์วิจารณ์การกระทํา ของตัวละคร หรือบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
3. กําหนดค่านิยม
               ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความเชื่อ ความพอใจในการกระทําที่ควรกระทําในสถานการณ์ ต่างๆ พร้อมเหตุผล
4. วางแผนปฏิบัติ
                 ผู้เรียนช่วยกันกําหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยมีครูร่วมรับทราบกติกา การกระทํา และสํารวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อกระทําดีแล้ว เช่น การได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ
5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
     ครูให้การเสริมแรงระหว่างการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชม ยินดี
8.12 กระบวนการเรียน ความรู้ความเข้าใจ
กระบวนการนี้ใช้กับการเรียนเนื้อหาเชิงความรู้ มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
               ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล สาระความรู้ เพื่อสร้างความคิดรวบยอด ตั้งคําถาม ตั้งข้อสังเกต สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อทําความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และกําหนดเป็นวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาคําตอบ ต่อไป
คําตอบมาวางแผนเพื่อกําหนด
2. วางแผนปฏิบัติ
     ผู้เรียนนําวัตถุประสงค์ หรือคําถามที่ทุกคนสนใจจะหาคําตอบมาวาง แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
3. ลงมือปฏิบัติ
                 ครูกําหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อยๆ ได้แสวงหาคําตอบจากแหล่งความรู้ด้วย เช่น ค้นคว้า สัมภาษณ์ ศึกษานอกสถานที่ หาข้อมูลจากองค์กรในชุมชน ฯลฯ ตามแผนงานที่วางไว้
4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
      ผู้เรียนนําความรู้ที่ได้มารายงานและอภิปรายเชิงแปลความ ตีความ ขยาน นําไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
5. สรุป
                ผู้เรียนรวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้บันทึกลงสมุด
จะเห็นได้ว่า กระบวนการรวมทั้งรูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ ดังได้เสนอไปแล้วข้างต้น มีจํานวนและความหลากหลายพอสมควร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกเป็นจํานวนมาก ผู้สอนจึงพึง ตระหนักว่าศาสตร์ทางการสอนได้ให้แนวคิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างหลากหลาย พอสมควร หากผู้สอนรู้จักแสวงหา ศึกษาเรียนรู้ และนําไปทดลองใช้ จะสามารถช่วยให้การเรียนการสอนมี ประสิทธิภาพ มีชีวิตชีวา และมีความหลากหลาย ไม่จําเจอยู่กับวิธีการหรือกระบวนการเพียงไม่กี่วิธีซึ่งอาจทํา ให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย