วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สรุป

ผู้สอนเป็นบุคลที่มีความสำคัญมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนทุกคนต้องตระหนักและ ยอมรับเสมอว่าครูมีการสอนผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันทุกกลุ่มและทุกรายวิชา ไม่ว่าผู้เรียนจะมีความ พิการหรือไม่ก็ตาม ผู้เรียนปกติทั่วไปที่มีความแตกต่างในความสามารถและลักษณะนิสัย ดังนั้นการคำนึงถึง การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Design ) ซึ่งมีความจำเป็น โดยก่อนอื่นผู้สอนต้องสำรวจทำความรู้จัก ผู้เขียนที่จะสอนให้ทำถึง สำรวจดูว่ามีผู้เรียนที่พิการในห้องเรียนไหม หรือมีใครที่มีความต้องการพิเศษทาง การศึกษา เช่น ทำงานช้า เรียนรู้ช้า มีสมาธิสั้น เป็นต้น และที่สำคัญ ต้องสังเกตแบบ ลีลาการเรียนรู้ (Learning Style)  ของผู้เรียน คือ ผู้เรียนบางคนสามารถเรียนรู้ได้ดีจากการฟังบรรยาย ผู้เรียนบางคนจะเข้าใจได้ดีต้องมี รูปภาพประกอบหรือใช้สื่อตัวอย่างแสดงให้เห็น หรือผู้เรียนบางคนต้องลงมือปฏิบัติ การจัดทำสื่อการสอน ควรคำนึงถึงผู้เรียนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้เรียนปกติหรือพิการ เช่น จัดทำวิดีโอเทป หรือเพาเวอร์พอยท์ ประกอบเสียงและตัวหนังสือกำกับ เป็นต้น เมื่อรู้จักผู้เรียนแล้วผู้สอนจะได้เลือกแบบ ลีลาการสอน (Teaching Style) ได้ถูกแบบการสอนมีหลายแบบ เพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนหลายประเภท เช่น ในบางเนื้อหา อาจเป็นการบรรยาย บางเนื้อหาอาจให้ลงไปเก็บข้อมูลตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  แล้วนำมาเสนอ อภิปรายร่วมกัน เป็นต้น การเขียนคำอธิบายรายวิชาควรมีความชัดเจนว่า ผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้อะไร โดยวิธีใดและคาดหวังอย่างไร ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอแนะในสิ่งที่ต้องการอยากรู้เพิ่มเติม หรือปรับกิจกรรมบางส่วนในรายวิชานั้น ๆ ได้ด้วย

การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning )

       Marzano : (2012) ได้สรุปกลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ไว้ดังตารางดังนี้
1.การกำหนดวัตถุประสงค์และให้ข้อมูลย้อนกลับ
(Setting Objectives Feedback)
2.เสริมแรงและสร้างความยอมรับ(Reinforcing Effort and Providing Recognition)
3.การเรียนแบบร่วมมือ
(Cooperatives Learning)







ช่วยพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียน
(Helping students Develop Understanding)
1.ให้คำแนะนำ (Cues)
2.ใช้คำถาม (Questions)
3.ให้ความรู้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizes)
4.การแสดงออกโดยภาษากาย (Nonlinguistic Representaions)
5.สรุปความและจดบันทึก (Summarizing and Note taking)
6.มอบหมายการบ้านและให้ปฏิบัติ (Assigning Homework and Providing Practice)
ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ของผู้เรียน
(Help students Extend and Apply Knowledge)
1.ระบุความเหมือนความแตกต่าง(Identifying Similarities and Differences)
2.สร้างและทดสอบสมมติฐาน(Generating and testing Hypotheses)

ตารางที่ 15 คำจำกัดความของกลยุทธ์การสอน
คำสำคัญ
ความหมาย
1.กำหนดวัตถุประสงค์และให้ข้อมูลย้อนกลับ
(Setting Objectives Feedback)
การให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทิศทางในการเรียนรู้และเป้าหมายในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ
2.การเสริมแรงและสร้างการยอมรับ (Reinforcing Effort and Providing Recognition)
การส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเรื่อง
-ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามเละความสำเร็จโดยมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีและความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
-สามารถให้การยอมรับและเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมหรือยกย่องในความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
3.การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้
4.ให้คำแนะนำ ใช้คำถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า (Cues Questions and Advance Organizes)
คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจำ ใช้ และจัดการกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
5.การแสดงออกโดยกายภาษา (Nonlinguistic Representations)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอรายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
6.สรุปความและจดบันทึก (Summarizing and Note taking)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการกับข้อมูลโดยการสรุปสาระสำคัญและข้อสนับสนุน
7. มอบหมายงานและให้ปฏิบัติ (Assigning Homework and Providing Practice)
หมายถึง การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ, ทบทวน ประยุกต์ใช้ความรู้ การสร้างเสริมให้นักเรียนได้เข้า
ระดับของความเชี่ยวชาญในทักษะหรือกระบวนการที่คาดหวัง
8.ระบุความเหมือนความแตกต่าง (Identifying Similarities and Differences)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเข้า และสามารถใช้ความรู้ กระบวนการทางปัญญาใน ระบุหรือจำแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
9.สร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจ สามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในสร้างและทดสอบสมมติฐาน

กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิ์ภาพ ตามแนวคิด ของ Marzano
การตั้งจุดมุ่งหมาย/จุดประสงค์ (Setting objectives) แนวทางการตั้งจุดประสงค์ มีดังนี้ 1.ตั้งจุดประสงค์ให้ชัดเจนตามเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2.สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจตรงกัน 3.เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback)  การให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิกาพ ดังนี้ 1. ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็นประโยชน์ต่อไป 2. การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจำเป็น 3. การให้ข้อมูลย้อนกลับ ควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน 4. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort) มีวิธีการดังนี้ 1. สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์ 2. แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม 3. ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1. ส่งเสริม เป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้ รอบรู้ 2.ให้การยกย่อง สำหรับสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหรือทั้งในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม 3. ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ในการแสดงการยอมรับ เป็นการให้รางวัล
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้ 1. ควรยึดหลักของการมี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสำเร็จส่วนบุคคล 2.จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน 3. ใช้การ เรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
การใช้การแนะนำและคำถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้ 1. ใช้เฉพาะประเด็นที่สำคัญ 2.ให้คำแนะนำที่ชัดเจน 3. ถามคำถามเชิงอนุมาน 4.ถามคำถามเชิงวิเคราะห์
การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1. ใช้การอธิบายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 2. ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 3.ใช้สรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 4. ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
การใช้ภาษากายแสดงออก (Nonlinguistic Representations) มีวิธีการดังนี้ 1.ใช้กราฟิกในการนำเสนอ 2. จัดกระทำหรือทำตัวแบบ 3.ใช้รูปแสดงความคิดนำเสนอ 4.สร้างรูปภาพ, สัญลักษณ์
สรุปและจดบันทึก (Summarizing and note taking) มีวิธีการดังนี้ 1.สอนนักเรียนให้รู้ วิธีการบันทึก สรุป ที่มีประสิทธิภาพ 2.ใช้แบบฟอร์มการสรูป 3. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการ สอน ซึ่งกันและกัน
การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้ 1.พัฒนาและสื่อสาร นโยบายการ มอบหมายการบ้านของโรงเรียน 2. ออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ 3.ให้ข้อมูล ย้อนกลับในงานที่มอบหมาย
การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1.ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ อย่างชัดเจน 2. ออกแบบการปฏิบัติที่เจาะจงและเวลาเหมาะสม 3. ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity) มีวิธีการดังนี้ 1.วิธีการบอก ความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี 2. แนะนำนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกำหนด ความเหมือนความแตกต่าง 3. ให้คำแนะนำที่ช่วยให้นักเรียน กำหนดความเหมือนความแตกต่างได้
การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้ 1. ให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย 2.การและให้ นักเรียนอธิบายสมมติฐานและและข้อสรุป

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)

          Jon Wiles (2009 : 56-57) สรุปว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) หมายถึง สถาวะแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทางกานภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือทางภาษา โดยสามารถใช้อาคารในการจัดพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะ จัดสื่อที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนแต่ละคนและเป็นสื่อ บูรณาการสะดวกเหมาะสมกับหลักสูตร เป็นศูนย์การเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางจิตใจหรือบรรยากาศทางจิตใจ ส่งผลต่อผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้  โดยสรุปสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ คือมีความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
            Bob Pearlman อ้างถึงใน นฤมล ปภัสสรานนท์.2558 : 67-68 ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยตั้งคำถามว่า ความรู้และทักษะอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับ นักเรียนในศตวรรษที่ 21และควรตอบคำถามตามประเด็นคำถามต่อไปนี้
            -อะไร คือ หลักสูตร การเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
            -สิ่งที่ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งระดับโรงเรียน และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน และการบริหารตนเอง
-เทคโนโลยีจะสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตรและการประเมินผลของศตวรรษที่ 21 เพื่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมได้อย่างไร
-อะไร คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ(ห้องเรียนโรงเรียนและโลกแห่งความจริง) ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากเว็บไซด์ ได้นำเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ว่า คือ ระบบสนับสนุนที่จัดสรร เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการ เพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคนและสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือและชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักศึกษา เพื่อที่จะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 นี้ ตามความต้องการของทุกคน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นระบบ ที่สอดคล้องกันได้อย่างลงตัว คือ
-สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คน โดยรอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
-สนับสนุน ชุมชน การเรียนรู้ระดับมืออาชีพที่ช่วยให้นักศึกษา ทำงานร่วมกันแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
-ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในบริบทของศตวรรษที่ 21 (เช่นผ่านโครงการหรืองานอื่น ๆ ที่นำไปใช้)
-ช่วยให้เข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเทคโนโลยีและทรัพยากร
-จัดสรร ให้ออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษทื่ 21 สำหรับการเรียนรู้แบบกลุ่ม ทีมงานและของแต่ละบุคคล
-รองรับ ชุมชนที่มี การขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ทั้ง การเรียนแบบเผชิญหน้า face to face และ ออนไลน์
กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That works)
Marzano (2012) ได้นำเสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ปรพกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
2.การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3.การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนำความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)
            กลวิธีที่ 1 เป็นพื้นฐานสำคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
            กลวิธีที่ 2 เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้จัดลำดับและเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์(Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและการเรียนรู้กระบวนการใหม่แต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1.การสร้างขั้นตอนที่จำเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2.พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย 3.ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจำ
            กลวิธีที่ 3 คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้ได้ความรู้มากกว่าคำตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตจรองเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุผล จึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

แบบการสอน

          แบบการสอน (Styles of teaching) เป็นการแสดงคุณค่าของครูแต่ละคน เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ทำให้ครูคนหนึ่งแตกต่างไปจากครูคนอื่นๆ ประกอบด้วยการแต่งกาย ภาษา เสียง กริยาท่าที่ ระดับพลัง การแสดงออกทางสีหน้า แรงจูงใจ ความสนใจในบุคลอื่น ความสามารถในการแสดงเชาว์ปัญญาและความคงแก่เรียน
            ครูมีความพร้อมที่จะปรับสไตล์การสอนแบบใดแบบหนึ่งโดยที่รู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ครูเป็นเสมือนผู้ช่วยเหลือ ผู้กวดขันวินัย นักแสดง เพื่อน ภาพลักษณ์ของพ่อหรือแม่ ผู้ปกครองที่มีอำนาจ จิตรกรพี่ชายใหญ่ หรือพี่สาวใหญ่ หรือแสดงเป็นตัวอย่างของรูปแบบการสอนสไตล์การสอนเป็น คุณภาพที่แผ่ซ่านอยู่ในพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เป็นคุณภาพที่คงอยู่แม้ว่าเนื้อหาจะเปลี่ยนแปลง”  (Fischer and Fischer, 1976:245) หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นคุณภาพตามเนื้อหาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร คุณภาพของจะคงอยู่ฟิสเชอร์ทั้งสองได้สังเกตว่าครูมีความแตกต่างกันในรูปแบบการสอน เช่นเดียวกับประธานาธิบดีของรัฐบาลอเมริกาแต่ละบุคคลที่มีรูปแบบการพูดที่แตกต่างกัน นักวาดภาพที่มีชื่อเสียงที่มีความแตกต่างกันในรูปแบบของกิจกรรมหรือนักเทนนิสที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางก็มีรูปแบบการเล่นที่เป็นของตัวเองไม่เหมือนใคร
            ครูที่มีเสียงสูงและเสียงแบนจะมีความยากในการใช้วิธีสอนแบบบรรยาย ครูที่แต่งเครื่องแบบหรือมีท่าเป็นทางการจะสามารถจัดการกับห้องเรียนที่อึกทึกได้ ครูที่ขาดความเชื่อมั่นในทักษะการจัดการ อาจจะรู้สึกไม่ชอบใจกับความเป็นอิสระอย่างไม่มีขอบเขตของผู้เรียนไม่ชอบใจกับการอภิปรายชนิดที่เป็นปลายเปิด และถ้าครูระดับต่ำมีแนวจูงใจต่ำที่จะปฏิเสธการอ่านเรียงความหรือรายงานประจำภาคของผู้เรียนอย่างระมัดระวังแล้ว วิธีเช่นนี้จะมีประโยชน์น้อยมาก
            ครูที่มีใจชอบความคงแก่ผู้เรียน ชอบที่จะรวมเอาวิธีสอนหลากหลายที่ได้จากผลการวิจัยมาใช้ ครูที่ให้ความสนใจกับประชาชนจะเลือกวิธีสอนที่ครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันและนักเรียนไม่เพียงแต่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนทั่วๆ ไปทั้งในและนอกโรงเรียนด้วย
            ครูที่มีความเชื่อมั่นกับงานของตนเอง จะเชื้อเชิญให้ผู้อื่นมาเยี่ยมชมชั้นเรียนจะใช้ทรัพยากรบุคคล โสตทัศนูปกรณ์ วีดีทัศน์ เป็นกิจกรรมในชั้นเรียน ครูที่มีความเป็นประชาธิปไตยจะออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ยอมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
            ครูบางคนปฏิเสธที่จะใช้โสตทัศนูปกรณ์ เพราะรู้สึกว่าไม่มีสมรรถนะเพียงที่จะใช้เครื่องมือและมีเจตคติว่าการใช้สื่อทำให้เสียคุณค่าของเวลา
            แบบการสอนของผู้สอน มีความสัมพันธ์บางอย่างกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ผู้เรียนบางคนมีความสามารถในการแสดงออกด้วยการพูดดีกว่าการเขียน บางคนสามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของนามธรรม ในขณะที่คนอื่นๆ เพียงแต่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น บางคนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคนิคการฟังและการดูมากกว่าการอ่าน บางคนสามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้ ผู้เรียนที่มีแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างในแบบการสอนด้วย ในความจริงแล้วจำนวนผู้เรียนยิ่งมากาขึ้นเท่าไหร่ความแตกต่างของผู้เรียนยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ผู้สอนต้องรับรู้ว่าแบบการสอนสามารถให้ความกระทบอย่างแรงกล้าต่อสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียน แบบการสอนแต่ละครั้งสามารถที่จะจะผสมผสานให้เข้ากับจุดหมายของผู้เรียนได้
            แบการสอนไม่สามารถเลือกในลักษณะเดียวกันกับการเลือกกลวิธีการสอนได้ แบบการสอนไม่ใช่สิ่งที่พร้อมที่จะเปิดปิดสวิตซ์ได้ ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายที่จะเปลี่ยนการมุ่งงานไปเป็นการมุ่งให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรื่องทำนองนี้เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะทำได้ เหนือสิ่งอื่นใด ผู้สอนที่ไม่มีการตื่นเต้นทางอารมณ์จะเปลี่ยนเป็นผู้สอนที่มีความตื่นเต้นทางอารมณ์ได้หรือไม่ มีคำตอบอยู่สองคำถามเกี่ยวกับแบบการสอนว่า ผู้สอนสามารถเปลี่ยนแบบการสอนได้หรือไม่ และผู้สอนควรเปลี่ยนแบบการสอนหรือไม่
            บางที่จะพบว่า คำถามที่ยิ่งใหญ่ คือ ผู้สอนควรเปลี่ยนแปลงแบบการสอนหรือไม่ มีคำตอบอยู่สามข้อต่อคำถามที่ตั้งสมมติฐานไว้ก่อนว่าผู้สอนสามารถเปลี่ยนแบบการสอนได้ คือ ประการแรก แนวคิดที่ว่าแบบการสอนตรงกับแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงได้มีความพยายามที่จะวิเคราะห์แบบการสอนและแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างถูกต้องสมควร และจัดกลุ่มผู้เรียนและผู้สอนที่มีแบบการเรียนและแบบการสอนที่ สอดคล้องกัน
            ประการที่สอง ตามแนวความคิดที่ว่า มีคุณความดีบางอย่างในการที่จะเผยให้ผู้เรียนทราบถึงแบบการเรียนรู้ของบุคคลที่มีความหลากหลายแตกต่างกันอย่างมากในระหว่างที่พบเห็นในโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในแบบต่างๆ แม้ว่าผู้เรียนบางคนอาจจะชอบมากกว่าที่จะให้มีโครงสร้างแต่เพียงเล็กน้อย ไม่เป็นทางการ ใช้วิธีการผ่อนคลายในขณะที่อยู่ในโรงเรียน ผู้เรียนที่จบจากมัธยมตอนปลายที่มุ่งงานและผู้สอนที่ยึดวิชาเป็นศูนย์กลางจะเป็นคนที่เรียกว่า เท้าอุ่น จะมีหลัก มีความ มั่นคงช่วยให้ประสบผลสำเร็จ
            ประการที่สามต่อคำถามว่า ผู้สอนควรจะเปลี่ยนแบบการสอนหรือไม่ มีแนวคิดว่า ครูควรจะยืดหยุ่น ใช้แบบการสอนให้มากว่าหนึ่งแบบ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าหลากวิธีการสอนให้ผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน หรือกับผู้เรียนต่างกลุ่มกันคำตอบนี้รวมถึงลักษณะของการตอบประการแรกประการที่สองด้วยผู้สอนจะมีหลากหลายแบบการสอนสำหรับกลุ่มผู้เรียนพิเศษด้วยสัญลักษณ์ที่เหมือนกัน ถ้าผู้สอนสามารถทำได้ ทำให้ผู้เรียนพบกับแบบการสอนที่หลากหลายของผู้สอน อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่รับเลือกต้องอนุโลมให้มี แบบการสอนที่สามารถเรียนแบบได้ด้วย นั่นคือ เหตุผลที่แสดงว่าทำไมเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้สอนที่ต้องรู้ว่าผู้เรียน เป็นใคร เป็นอะไร และเชื่อถืออะไรบ้าง ดันน์และดันน์ ได้กล่าวว่า เกี่ยวกับผลของเจตคติความเชื่อ ของครูต่อแบบการสอนว่า
            เจตคติของครูต่อโปรแกรมการเรียนการสอน วิธีการสอนและแหล่งวิทยาการที่หลากหลายตลอดจนลักษณะของเด็กๆ หรือผู้เรียนที่ผู้สอนชอบทำงานด้วยผสมผสานหลอมหล่อกันเป็นส่วนหนึ่งของ “แบบการสอน” อย่างไรก็ตามมีความจริงอยู่ว่า ผู้สอนบางคนเชื่อในรูปแบบของการเรียนการสอนพิเศษซึ่งไม่ใช่การปฏิบัติอื่นๆ ซึ่งผู้สอนไม่ได้ให้ความเชื่อถือ (อำนาจในการบริหารหรืออำนาจของชุมชน ความไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรืออดทนต่อแรงกดดัน) และความเป็นจริงด้วยเหมือนกันอีกว่า ผู้สอนอาจจะชอบผู้เรียนที่มีความแตกต่างไปจากที่สอนอยู่มากกว่าก็เป็นได้
            ฟิชเชอร์และฟิชเชอร์ ได้บ่งชี้แบบการสอนที่ประกอบด้วย การรอบรู้ภาระงาน การวางแผนร่วมมือกัน การให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการให้ความตื่นเต้นทางอารมณ์และเป็นแบบอย่าง
            การมุ่งงาน ครูจะกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และบอกถึงความต้องการในการปฏิบัติงานของนักเรียน การเรียนที่จะประสบผลสำเร็จอาจจะเฉพาะเจาะจงไปที่พื้นฐานของนักเรียนแต่ละคน และมีระบบที่จะให้นักเรียนแต่ละคนเป็นไปตามความคาดหวังอย่างชัดเจนมั่นคง
            การวางแผนการร่วมมือกัน ครูร่วมกันวางแผนวิธีการและจุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนด้วยความร่วมมือของนักเรียน ครูไม่เพียงแต่จะรับความคิดเห็นเท่านั้น แต่ครูต้องกระตุ้นให้การมีส่วนร่วมของนักเรียนทุกระดับชั้นด้วย
            การให้นักเรียนเป็นจุดศูนย์กลาง ครูจัดหาจัดเตรียมโครงสร้างต่างๆ สำหรับนักเรียนเพื่อให้ติดตามแสวงหาความรู้ตามที่ต้องการหรือตามความสนใจ สไตล์แบบนี้ไม่เพียงแต่จะพบว่ามีน้อย แต่เกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะจินตนาการให้เป็นไปตามที่คาดหวัง เพราะว่าชั้นเรียนที่มีอัตราส่วนระหว่างนักเรียนกับครู และนักเรียนกับสิ่งแวดล้อมในความรับผิดชอบจะกระตุ้นส่งเสริมความสนใจของนักเรียนบางคน และทำให้นักเรียนบางคนเกิดความท้อแท้ใจโดยอัตโนมัติ
            การให้เนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลาง วิธีการนี้ครูจะเน้นไปที่เนื้อหาวิชาที่จัดไว้ดีแล้ว โดยกับผู้เรียนออกไป และคิดว่าเนื้อหาวิชาที่จัดนั้น ครอบคลุมรายวิชาครูจะพึ่งพอใจแม้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นน้อย
            การให้การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง วิธีการนี้ครูจะให้ความสำคัญเท่าๆ กันระหว่างนักเรียนและจุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนสิ่งที่จะใช้ในการเรียน ครูจะปฏิเสธการเน้นอย่างมากเกินไปทั้งในด้านการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการให้เนื้อหาเป็นศูนย์กลางแทนการช่วยเหลือนักเรียน โดยไม่คำนึงว่านักเรียนมีความสามารถหรือไม่มีความสามารถ เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่เป้าประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ให้ดีเท่าๆ กับอิสรภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน
            ให้มีการตื่นเต้นทางอารมณ์และเป็นแบบอย่าง วิธีการนี้ครูจะแสดงอารมณ์ที่เกี่ยวกับการสอนอย่างเข้มข้น ครูจะเข้าไปอยู่ในกระบวนการสอนอย่างใจจดใจจ่อ และโดยปกติแล้วจะก่อให้เกิดบรรยากาศของชั้นเรียนที่ตื่นเต้นและมีอารมณ์ร่วมสูง
            ไม่มีข้อสงสัยเลยที่จะพบว่าประเภทของการสอนบางอย่างชวนให้ใช้และได้รับการยอมรับมากกว่าประเภทอื่นๆ เราอาจจะบ่งชี้ได้ว่าการสอนบางประเภทเป็นลบ (ตัวอย่างคือ พฤติกรรมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย) บางประเภทเป็นบวก (เช่น การคำนึงถึงนักเรียน) เราซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต คงจะยอมรับประเภทของการสอนซึ่งเป็นแบบอย่างของตน ดังที่ ฟิชเชอร์และฟิชเชอร์ ได้กล่าวว่า
            เราได้พิจารณาว่าสไตล์การสอนและการเรียนรู้ทั้งหมดมีความเหมาะสมเท่าเทียมกัน มีอยู่บ่อยครั้งที่การสอนนั้นๆ เป็นสิทธิของการปฏิบัติที่ไม่สามารถจะโต้แย้งได้ เอาล่ะนั้นมันเป็นวิธีการของผม/ฉัน ผมมีวิธีการของผม คุณมีวิธีการของคุณ และแต่ละวิธีการก็ดีเหมือนๆ กับวิธีการอื่นๆ...ถ้าทุกความคิดของวิธีการนั้นๆ อยู่บนพื้นฐานของความผูกพันต่อการเรียนการสอนรายบุคคล และพัฒนาการของอิสรภาพของผู้เรียน เราไม่ยอมรับการอนประเภทที่ส่งเสริมการบังคับให้ปฏิบัติตามและขึ้นอยู่กับผู้อื่น (Fisher and fisher, 1976 : 409 - 401)

พหุปัญญา (Multiple Intelligences)


           Howard Gardner (2011) Gardner, Howard. Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York: Basic Books, 2011. ได้พัฒนาทฤษฎีพหุปัญญาโดยทฤษฎีโต้แย้งความคิดเกี่ยวกับความเก่งและปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว นั้นไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ที่แนวคิดเดิมเน้นปัญญาของมนุษย์เพียงสองด้าน คือ ด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์ได้เสนอแนวคิดว่าปัญญาที่หลากหลายหรือพหุปัญญาจะพบในทุกวิถีชีวิต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากตัวป้อนที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน ผู้เรียนอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์ หรืออาจจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่า ที่เหนือชั้นกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น การ์ดเนอร์เสนอว่าปัญญามีอยู่ 8 ด้าน ดังต่อไปนี้
            1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) เป็นปัญญาความสามารถในการใช้ถ้อยคำ(“word smart")
            2. ปัญญาค้านตรรกะ - คณิตศาสตร์ (Logical-mathematical intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถทางด้านจำนวนตัวเลขและเหตุผล (“number/reasoning smart”)
            3. ปัญญาด้านมิติ (Spatial intelligence) เป็นปัญญาความสามารถด้านการคิดเป็นรูปภาพ สามารถมองเห็นโลกในรูปของภาพ และสามารถจำลองสร้างภาพนั้น ๆ ได้ (“picture smart”)
            4. ปัญญาทางค้านคนตรี (Musical intelligence) เป็นปัญญาที่มีความสามารถสูงทางด้านดนตรี คือ ความสามารถและชื่นชมในเสียง ทำนองจังหวะ และสามารถผลิตสียง ทำนอง จังหวะได้ดี(“music smart”)
            5. ปัญญาด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว (Bodily-Kinesthetic intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถพิเศษในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย และในการใช้มือเพื่อจัดกระทำกับสิ่งของ (“body smart)
            6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถพิเศษ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถที่จะสังเกตรับรู้อารมณ์ ความคิดความปรารถนาของผู้อื่น (“people smart”)
            7. ปัญญาด้านด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ดี (“self smart”)
            8. ปัญญาด้านการเข้าใจเรื่องธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นปัญญาความสามารถสังเกต เชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (nature smart”)
            สาระสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านนี้ในตน และปัญญาแต่ละด้านสามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับใช้การได้ การ์ดเนอร์กล่าวสรุปไว้ว่า ปัญญาทั้ง 8 ด้านจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจะไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เฉพาะปัญญาด้านใดด้านเดียว คำแนะนำที่ดีก็คือ ไม่ทุ่มเทไปที่ปัญญาด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ควรจะสัมพันธ์ปัญญาหลายๆ ด้านในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา


แบบการเรียนรู้ (Learning Styles)

      คำว่า Learning Styles ในคำภาษาไทยใช้คำว่า ลีลาการเรียนรู้ หรือแบบการเรียนรู้ หรือวิธีการเรียนที่เป็นการปฏิบัติของผู้เรียนในการจัดการเกี่ยวกับการเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ หลักสูตร ซึ่งแตกต่างกันไปตามสติปัญญา ลักษณะเฉพาะของผู้เรียนและสภาพแวดล้อมทางการ
            แบบการเรียนรู้ (Learning Style) เป็นความคงที่ในการตอบสนองและการใช้สิ่งเร้าในบริบทของการเรียนรู้ อาจกล่าวได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยกลวิธีหรือวิธีการที่สนองตอบกับความต้องการของผู้เรียน โดยผู้เรียนแต่ละคนมีแบบการเรียนรู้ของตนเอง       
ไรซ์แมนและกราส์ซา และเดวิด เอ คอล์บ ได้เสนอแบบการเรียนรู้ สรุปได้ ดังนี้
            Anthony F. Grasha and Sheryl Reichman (1980 cited in Nova Southeastern University, 20 จัดผู้เรียนตามแบบการเรียนรู้ได้ 6 แบบ คือ
            1. แบบอิสระ (Independent Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้เฉพาะตนเอง แสวงหาความรู้และ ประสบการณ์ด้วยตนเอง จะเรียนรู้เนื้อหาวิชาเฉพาะที่ตนเห็นว่ามีความสำคัญ เชื่อมั่นในความสามารถการ เรียนรู้ของตนเอง แต่ก็รับฟังความเห็นของผู้อื่น
            2. แบบหลีกเลี่ยง (Avoidance Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่สนใจเนื้อหาวิชาที่จัดให้ ไม่สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน
            3. แบบร่วมมือ (Collaboration Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ชอบที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่น เรียนรู้ได้ดีด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถือห้องเรียนเป็นแหล่งปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาตลอดจนกิจกรรมนอกหลักสูตร
            4. แบบพึ่งพา (Dependent Style) ) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการคำบอกเล่าว่าต้องทำอะไร อย่างไรและเมื่อไร ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการรับคำสั่ง หรืองานที่มอบหมาย อาจารย์และเพื่อนจะเป็นแหล่งความรู้ มีความต้องการเรียนรู้เฉพาะจากสิ่งที่กำหนดให้เรียนเท่านั้น
            5. แบบแข่งขัน (Competitive Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่จะพยายามทำให้ดีกว่าคนอื่น ผู้เรียนค้นหาความรู้โดยใช้หลักในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามที่จะทำสิ่งต่างๆ ให้ได้ดีกว่าคนอื่น ใช้หลักในการเรียนรู้ เรียนเพื่อให้มีผลการเรียนดีกว่าเพื่อนในชั้นเรียน ต้องการรางวัลในชั้นเรียน เช่น คำชม หรือวิ่งของ หรือคะแนน มีลักษณะการแข่งขันแบบแพ้ชนะ
            6. แบบมีส่วนร่วม (Participant Style) ผู้เรียนมีแบบการเรียนรู้ที่ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุดในกิจกรรมในชั้นเรียน ผู้เรียนต้องการเรียนรู้เนื้อหาวิชาในห้องเรียนและชอบที่จะเข้าชั้นเรียน แต่ไม่ต้องการจะร่วมกิจกรรมที่ไม่อยู่ในรายวิชาที่เรียน
            Divil A. Kols (1995 อ้างในคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ, 2543 : 19-20) จัดกลุ่มผู้เรียนตามแบบการเรียนเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
            1. แบบนักปฏิบัติ (active experimentation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดี เมื่อได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้เกิดจากการกระทำควบคู่ไปกับการคิด
            2. แบบนักสังเกต (reflective observation) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้จากการสังเกตปรากฏการณ์ ต่าง ๆ แล้วนำมาจัดระบบระเบียบเป็นความรู้
            3. แบบนักคิดสร้างมโนทัศน์ (abstract conceptualization) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยวิเคราะห์ และสังเคราะห์ การรับรู้ที่ได้เป็นองค์ความรู้
            4. แบบนักประมวลประสบการณ์ (concrete experience) ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้โดยการ วิเคราะห์ และประเมินด้วยหลักเหตุผล
            McCarthy (อ้างในศักดิ์ชัย นิรัญทวีและไพเราะ พุ่มมั่น, 2542 : 7-11) ได้ขยายแนวคิดของคอล์บ โดยเสนอแบบการเรียนรู้ 4 แบบ ดังนี้
            แบบที่ 1 เป็นผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (imaginative learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและประมวลกระบวนการเรียนรู้จากการสังเกต นำไปสะท้อนความคิดเชิงเหตุผล ผู้เรียนกลุ่มนี้มักถามถึง เหตุผลว่า ทำไม (why) ผู้เรียนมักถามว่า ทำไมต้องเรียนสิ่งนั้นสิ่งนี้ จะต้องหาเหตุผลที่จะต้องเรียนรู้ก่อน สิ่งอื่น ๆ แล้วจะเกี่ยวข้องกับตัวเขาหรือสิ่งที่เขาสนใจอย่างไร โดยเฉพาะเรื่อง ความเชื่อ ค่านิยม ความรู้สึก ชอบขบคิดปัญหาต่าง ๆ ค้นหาเหตุผลและสร้างความหมายเฉพาะของตนเอง ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อ อภิปราย โต้วาที ใช้กิจกรรมกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ครูต้องให้เหตุผลก่อนเรียน หรือระหว่างเรียน
            แบบที่ 2 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (analytic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านการประมวล ข้อมูล โดยนำสิ่งที่รับรู้มาประมวลกับประสบการณ์เป็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะถามเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริง คำถามที่สำคัญคือ อะไร (what) ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อนำไปพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด (concept) หรือจัดระบบระเบียบของความคิด ผู้เรียนกลุ่มนี้มุ่งเน้น รายละเอียดข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง จะยอมรับผู้รู้จริงหรือผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีอำนาจสั่งการเท่านั้น ผู้เรียนกลุ่มนี้จะเรียนก็ต่อเมื่อรู้ว่า จะต้องเรียนอะไร อะไรที่เรียนได้ สามารถเรียนได้ดีจากการบรรยาย การทดลอง การทำรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย
            แบบที่ 3 เป็นผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสำนึก (common sense learners) ผู้เรียนจะรับรู้โดยผ่าน กระบวนการคิดจากสิ่งที่เป็นนามธรรม กระบวนการเรียนรู้ได้จากการทดลองหรือปฏิบัติจริง มีการมองหา กลยุทธ์ในการปรับเปลี่ยนความรู้เพื่อนำไปใช้ คำถามที่สำคัญคือ อย่างไร (how) ผู้เรียนกลุ่มนี้สนใจทดสอบทฤษฎีหรือปฏิบัติจริง โดยวางแผนนำความรู้ในภาคทฤษฎีที่เป็นนามธรรมไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในชีวิตจริง ผู้เรียนกลุ่มนี้ต้องการเป็นผู้ปฏิบัติ ใฝ่หาสิ่งที่มองเห็นว่าเป็นประโยชน์และตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้มานั้นสามารถใช้ได้ในชีวิตจริงหรือไม่ สนใจที่จะนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง อย่างไร รูปแบบการเรียนการสอนที่ควรเป็นก็คือ การทดลอง การให้ปฏิบัติจริง ทำจริงหรือสถานการณ์จำลองก็ได้
            แบบที่ 4 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการปรับเปลี่ยน (dynamic learners) ผู้เรียนจะรับรู้ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมและผ่านการกระทำ คำถามที่สำคัญคือ ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ (If) ผู้เรียนจะเรียนรู้โดยลงมือทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ชอบรับฟังความคิดเห็นหรือคำแนะนำ แล้วนำข้อมูลมาประมวลเป็นความรู้ใหม่ ผู้เรียนกลุ่มนี้จะมองเห็นความซับซ้อนของสิ่งที่เรียนรู้ สามารถสร้างผังความคิด แสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แล้วนำเสนอเป็นรูปแบบที่แปลกใหม่ การสอนผู้เรียนกลุ่มนี้ใช้วิธีการสอนแบบค้นพบด้วยตนเอง (self discovery method)
            แบบการเรียนรู้ (learning styles) เป็นเพียงการจัดกลุ่มที่มีลักษณะโดยรวมเท่านั้น ไม่อาจจำแนกได้เฉพาะเจาะจงว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งจะจัดอยู่ในกลุ่มของแบบการเรียนแบบใดแบบหนึ่ง ดังที่การ์ดเนอร์ (howard gardner) ที่ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence theory) 8 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านการรู้จักตนเอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านความเข้าใจธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ผู้สอนสามารถใช้แบบการเรียนรู้ที่มาจากสติปัญญา หนึ่งด้านหรือสองด้านเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนมีประสิทธิผลสูงสุด โดยปกติผู้สอน ทดสอบ และการ ได้รับข้อมูลป้อนกลับประกอบด้วยสติปัญญาสองด้าน คือ ภาษา (verbal/linguistic) และเหตุผล (logical/mathematical) การนำแนวคิดพหุปัญญามาใช้ควรจะเป็นการใช้คุณลักษณะเด่นของสติปัญญา เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ประการสำคัญผู้สอนต้องคำนึงอยู่เสมอว่าในชั้นเรียนหนึ่ง ๆ มีผู้เรียนทุกแบบการเรียนรู้ ดังนั้นผู้สอนจำเป็นต้องใช้แบบการสอน (teaching style) ที่หลากหลายเพื่อตอบสนองแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ครอบคลุม ผู้เรียนมีโอกาสได้พัฒนาความสามารถของตนเองเต็มตามศักยภาพ