วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2562

รูปแบบ The STUDIES Model โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช

รูปแบบ The STUDIES Model 

 รูปแบบ The STUDIES Model 


               รูปแบบ The STUDIES Model  จุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาวิชาชีพครูมีความรู้ความเข้าใจบทบาทที่สำคัญในฐานะผู้เรียนที่จะต้องศึกษาศาสตร์การสอนและมีบทบาทในฐานะผู้สอนที่จะนำความรู้ไปจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียนรายละเอียดดังภาพประกอบที่ 2




 ภาพประกอบที่ 2 รูปแบบ The STUDIES Model 
 ที่มา พิจิตรา ธงพานิช การพัฒนารูปแบบ  The STUDIES Model   เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู  2561 : 7

รูปแบบ The STUDIES Model  มี 7 ขั้นตอนดังรายละเอียดต่อไปนี้

s :   กำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้  (setting learning goals)การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้    ผู้เรียนต้องระบุจุดหมาย
การเรียนรู้ (goals)ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติ โดยการระบุความรู้ในรูปแบบของ
สารสนเทศ(declarative knowledge)และระบุทักษะ การปฏิบัติ กระบวนการ(procedural knowledge )จุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียนปริมาตรเนื้อหาสาระหรือความรู้สูงสุดแต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้


T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้(knowledge) ทักษะ(Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง  เพื่อการอธิบายภาระงานหรอกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้  การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill-Attitudes


U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบการสอนที่ครูมีบทบาทเป็นผู้ดำเนินการเชิงรุก (proactive) เกี่ยวกับการผลิตหรือจัดหาจัดทำหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational products (computers, websites, software, textbooks, and ab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses). ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน


D : การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการเรียรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(content) จริยธรรม สังคม และการสะท้อน(Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทำงาน และชีวิตประจำวัน
         
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Managgemant) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
          
E : การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to Improve Teaching) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง โดยกำหนดค่าคะแนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ (Cognitive Domain) ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) การประเมินตามสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน เป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้

S : การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard Based assessment) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน โดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning Outcomes : SOLO Taxonomy) มากำหนดระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการตรวจสอบคุณภาพการเรียนรู้ รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model

     รูปแบบ The STUDIES Model เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้
และการจัดการชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูศึกษาวิเคราะห์หลักการแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในรูปแบบการจัดการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0   หรือการศึกษา 4.0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556  แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (constructivist learning method : clm ) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction ; UDI ) การวัดผลการเรียนรู้การกำหนดระดับความเข้าใจในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด Solo Taxonomy การศึกษาวิจัยได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า The studies model  model โมเดลมีรายละเอียดกรอบแนวคิด ( The STUDIES model framework ) 
ดังแผนภาพประกอบที่ 1
ภาพประกอบที่1 กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ The STUDIES Model



การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

           การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ The STUDIES Model  จุดสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  มาตรา 9 (4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา  การพัฒนาครู คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง           
          รูปแบบ The STUDIES Model  มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพ  ตามที่คุรุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพใดและสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์มืออาชีพแนวคิดเครื่องมือและการพัฒนา ( ไพฑูรย์  สินลารัตน์ 2550 บรรณาธิการเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย) ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

การเขียนแผนจัดการเรียนรู้ (Basic Lesson Plans)

การเขียนแผนจัดการเรียนรู้ (Basic Lesson Plans)
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ (Basic  Lesson  Plans)

โครงสร้าง – แผนการจัดการเรียนการสอน
รายวิชา   การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน      สาขาวิชาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
คณะครุศาสตร์                                                                                             มหาวิทยาลัยนครพนม
เรื่อง........................................                                                                                  เวลา 4 ชั่วโมง
สาระสำคัญ
              การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ The STDUIES  Model
วัตถุประสงค์
              เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในประเด็นต่อไปนี้
                        1) กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (: Setting learning goals)
                        2) วิเคราะห์ภาระงาน (: Task analysis)
                        3) การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (: Universal design for instruction)
                        4) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (: Digital learning)
                        5) การบูรณาการความรู้ (: Integrated knowledge)
                        6) กรประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (: Evaluation) และ
                        7) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (: Standard)
เนื้อหา
              สาระความรู้ ในแต่บทเรียน (บทที่ 1-8)

กิจกรรมการเรียนการสอน
              ขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน (15 30 นาที)
              1. ผู้สอนใช้คำถาม เพื่อร่วมกันทำความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ The STUDIES Mode เริ่มจากทบทวนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน การเรียนการสอนแบบปกติ และการเรียนการสอนแบบสร้างความรู้
กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถใช้กระบานการกลุ่มร่วมกันเรียนรู้ ให้สมาชิกในกลุ่ม กำหนดบทบาทหน้าที่เป็นประธานเลขานุการและสมาชิก
              ขั้นสอน (45-60 นาที)
              2. นักศึกษาจับคู่และร่วมกันวางแผนจัดการเรียนรู้ โดยนำสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด เพื่อ
                     2.1 กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (S : Setting learning goals) และ
                     2.2 วิเคราะห์ภาระงาน (T : Task analysis)
                     นักศึกษาจะต้องระบุจุดมุ่งหมายและกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ที่ได้เรียนรู้ในส่วนที่เป็นสาระความรู้ Declarative knowledge หรือ What student will understand และส่วนที่เป็นทักษะ Procedural knowledgeหรือ What student will be able to do
              3. นักศึกษาจับคู่ร่วมกันจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นเกี่ยวกับ
                     3.1 ออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (U : Universal design for instruction) กำหนดผลิตภัณฑ์ (เอกสาร หนังสือ หรือสื่อการเรียนรู้อื่นๆ) ที่เป็นสาระการเรียนรู้และเสนอแนะ/การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
                     3.2 จัดเตรียมบทเรียนที่ใช้ในการเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (: Digital learning) ที่เรียนรู้ได้จาก Mobile learning
                     3.3 จัดการเรียนการสอนเพื่อการบูรณาการความรู้ (: Integrated knowledge)
              4. นักศึกษาร่วมกันตรวจสอบความเข้าใจในมโนทัศน์การจัดการเรียน ในประเด็น
                     4.1 การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (: Evaluation to improve teaching) และ
                     4.2 การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐาน (: Standard based Assessment)
              ขั้นสรุป (15 - 30 นาที)
              5. นักศึกษาร่วมกันแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตอบคำถาม (ผู้สอนกำหนดประเด็นคำถาม) นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบ อาจารย์และนักศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากการศึกษา

สื่อการเรียนการสอน
              1. เอกสารประกอบการนำเสนอ (PowerPoint Presentation)
              2. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน : The STUDIES Model

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
              1. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
              2. ตรวจตำตอบตามประเด็นคำถาม



วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน

 ตรวจสอบและทบทวน
         
     สืบค้นมาตรฐานวิชาชีพครูตามข้อบังคับคุรุสภา  มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556  มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  มาตรฐานที่ 6  การจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน  นำมากำหนดจุดหมาย  (Goals)  ในการศึกษารายวิชาเพื่อบรรลุมาตรฐานดังกล่าวนี้ 
มาตรฐานความรู้
         ข้อ บังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556 เพิ่มมาตรฐานวิชาชีพครูเป็น 11 มาตรฐาน (จากเดิมมีเพียง 9 มาตรฐาน) โดยเพิ่ม 2 มาตรฐาน  เพิ่มมาตรฐานปรัชญาการศึกษา” , “คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณและได้จัดให้มาตรฐานการจัดการเรียนรู้และ การบริหารจัดการในห้องเรียนจากเดิมที่แยกเป็น 2 มาตรฐาน รวมไว้ด้วยกันเป็น 1 มาตรฐาน และเปลี่ยนแปลงบางมาตรฐานเช่น เดิม มาตรฐานภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู ก็เปลี่ยนเป็น ภาษาและวัฒนธรรมแทน
มาตรฐานความรู้ ทั้ง 11 มาตรฐาน  ประกอบด้วยความรู้ดังต่อไปนี้
              1.ความเป็นครู
              2.ปรัชญาการศึกษา  ( เพิ่มเติม )
              3.ภาษาและวัฒนธรรม (เดิม ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู”)
             4.จิตวิทยาสำหรับครู
             5.การพัฒนาหลักสูตร 
             6.การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (รวมจาก 2 มาตรฐานเป็น 1 มาตรฐาน)
             7.การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (เดิม การวิจัยทางการศึกษา”)
            8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
            9.การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้
           10.การประกันคุณภาพการศึกษา
           11.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ  ( เพิ่มเติม )  


มาตรฐานที่ 6 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
การกำหนดจุดมุ่งหมายในการศึกษารายวิชาเพื่อบรรลุมาตรฐาน
1. ทฤษฏีและหลักการบริหารจัดการ
2. ภาวะผู้นำทางการศึกษา
3. การคิดอย่างเป็นระบบ
4. การเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร
5. มนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร
6. การติดต่อสื่อสารในองค์กร
7. การบริหารจัดการชั้นเรียน
8. การประกันคุณภาพการศึกษา
9. การทำงานเป็นทีม
10. การจัดทำโครงงานทางวิชาการ
11. การจัดโครงการฝึกอาชีพ
12. การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อพัฒนา
13. การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
14. การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน






วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2562

ประมวลรายวิชา


ประมวลรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา      มหาวิทยาลัยนครพนม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา คณะครุศาสตร์
๑. รหัสและชื่อรายวิช
            การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Instructional and Classroom Management)
๒. จำนวนหน่วยกิต
            ๓ หน่วยกิต (๒-๒-๕)
๓. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
            หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต
            หมวดวิชาเฉพาะกลุ่มวิชาชีพครู (วิชาบังคับ)
๔. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
            ผู้ชาวยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช
            E-mail Phichittra.npu.ac.th
            Mobile Phone : ๐๘๘๔๕๕๕๘๓๙
๕. ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา
            ภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๖๑
๖. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
๗. สถานที่เรียน
            คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนคีพนม
๘. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
            ๘.๑. มีความรู้ในเรื่องหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
            ๘.๒. มีทักษะในการจัดทำแผนการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลจริง
            ๘.๓. มีความสามารถคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาได้ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
            ๘.๔. มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ และการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษา
            ๘.๕. มีเจตคติที่ดีและให้ความสำคัญต่อการจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศและการจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
๙. คำอธิบายรายวิชา
             หลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการจัดทำแผนการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการเรียนรู้ ทฤษฎีและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาได้ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม การจัดชั้นเรียน การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษาการจัดทำแผนการเรียนรู้และนำไปสู่การปฏิยัติให้เกิดผลจริง การสร้างบรรยากาศและการจัดการชั้นเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
            Principles, concepts and guideline for learning plan development learning management and environment for learning; theories and instructional management model for learners learn how to know the critical thinking creative thinking and solving problems; integrating of inclusive education; classroom management; learning center development in schools; writing learning plans and implementing for authentic output; creating a positive classroom atmosphere for learners.
  
๑๐. จำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
๒ ชั่วโมง/สัปดาห์
-
๒ ชั่วโมง/สัปดาห์
๕ ชั่วโมง/สัปดาห์
๑๑. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ / รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อที่ใช้ ( ถ้ามี)
ผู้สอน
1
แนะนำรายวิชา ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน : The STUDIES Model
2
2
-บรรยาย / อภิปราย / สรุป
-ประมวลการสอน
The STUDIES Model
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
2
กำหนดจุดหมายการเรียนรู้
( Setting Learning Goals )
2
2
-Power Point / หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
3
วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis
2
2
-Power Point / หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
4
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ( Universal Design Instruction )
2
2
-Power Point / หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
5
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning )
2
2
-Power Point / หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
6
การบรูณาการความรู้
( Integrated Knowledge )
2
2
-Power Point / หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
7
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
( Evaluation to Improve Teaching )
2
2
-Power Point / หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
8
การประเมินอิงมาตรฐาน
( Standard Based Assessment)
2
2
-Power Point / หนังสือ
-จับคู่ ปฏิบัติกิจกรรม
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
9
การประเมินระหว่างเรียนสอบกลางภาค
2
-
-สอบข้อเขียนในชั้นเรียน
-Assignment
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
10
การออกแบบ และเขียนแผนจัดการเรียนรู้
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
2
-
แผนจัดการเรียนรู้
ผลิตภัณฑ์ / สื่อการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
11
การออกแบบ และเขียนแผนจัดการเรียนรู้
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
2
-
แผนจัดการเรียนรู้
ผลิตภัณฑ์ / สื่อการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
12
การออกแบบ และเขียนแผนจัดการเรียนรู้
การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
2
-
แผนจัดการเรียนรู้
ผลิตภัณฑ์ / สื่อการเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
13
สาธิต / การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (กลุ่ม 4-6 คน)
สองกลุ่ม
2
2
-การปฏิบัติตามแผนจัดการเรียนรู้
-จัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
14
สาธิต / การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (กลุ่ม 4-6 คน)
สองกลุ่ม
2
2
-การปฏิบัติตามแผนจัดการเรียนรู้
-จัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
15
สาธิต / การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (กลุ่ม 4-6 คน)
สองกลุ่ม
2
2
-การปฏิบัติตามแผนจัดการเรียนรู้
-จัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
16
-ประเมินผลปลายภาค
2
-
-ทดสอบ
-แบบทดสอบ
ผศ.ดร.พิจิตรา
ธงพานิช
รวม
32
28


            การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Instructional and Classroom Management)  มีแนวทางกาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีสร้างความรู้ (Constructivist) และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) รายละเอียดดังนี้
                 12.1 กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting Learning Goals)           
                 12.วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
                 12.การออกแบบการเรียนรู้การสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)
                 12.การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)
                 12.5 การบูรณาการความรู้ (Integrated knowledge)
                 12.6 การประเมินเพื่อการปรับปรุงการสอน (Evaluation to improve Teaching)
                 12.7 การประเมินอิงมาตรฐาน (Standard based Assessment)

สรุป The STUDIES Model ดังภาพประกอบ
 
     ใช้หลักการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตาม Outcome Drivan Model  ประกอบด้วย
1.หลักการการจัดการเรียนรู้
             2.จุดมุ่งหมายของการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
3.การสอน
                        ขั้นที่ 1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้
                        ขั้นที่ 2 การวางแผนการเรียนรู้
                        ขั้นที่ 3 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้
                        ขั้นที่ 4 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้
                        ขั้นที่ 5 การประเมินการเรียนรู้

          4. การประเมิน
        สรุปเป็นแผนภาพ ได้ดังนี้

รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Instructional and Classroom Management) จัดหน่วยการเรียนรู้เป็น 8 หน่วย ดังนี้

หน่วยที่
เนื้อหาสาระ
1
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน : The STUDIES Model
2
กำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (Setting Learning Goals)
3
วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
4
การออกแบบการเรียนรู้การสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)
5
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning)
6
การบูรณาการความรู้ (Integrated knowledge)
7
การประเมินเพื่อการปรับปรุงการสอน (Evaluation to improve Teaching)
8
การประเมินอิงมาตรฐาน Standard

หลักการประเมินผลการเรียนรู้
            จากผลการศึกษาวิจัยของ David Nicol (2007) University of Strathclyde ได้เสนอหลักการประเมินผลการเรียนรู้และการให้ข้อเสนอแนะที่ดี ทฤษฎีและหลักการที่เป็นแนวปฏิบัติ ในการประเมินผลการศึกษาระบุอุดมศึกษา 10 ข้อดังนี้
            1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมายเกณฑ์การวัดเกณฑ์มาตรฐาน) ขอบเขตสิ่งที่เรียนได้ทำในหลักสูตร มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเกณฑ์และมาตรฐานก่อนระหว่าง และหลังการประเมินแค่ไหน
            2. ให้ “เวลาและความพยายาม” กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทายขอบเขตของงานที่มอบหมาย มีส่วนกระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
            3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยตนเองผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับแบบไหน และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองได้อย่างไร
            4. สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวก ขอบเขตการประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถให้แรงจูงใจในการเรียนและความสำเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
            5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อนและครู นักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสำหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องที่หมอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่สอน
6. อำนวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการเรียนขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมินโดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการะเมินผล – เนื้อหาและกระบวนการขอบเขตของผู้เรียนสำหรับการเลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล ค่าน้ำหนักคะแนน กำหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการะเมินผล งานที่ใช้ประเมินผล/การประเมินผลงานในรายวิชาที่สอน มีแค่ไหน
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขตของผู้ที่เรียนได้รับหรือมีการส่วนร่วมให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีแค่ไหน
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้แค่ไหน
10. ช่วยผู้สอนในการปรับการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการที่จะควบคุมกระบวนการการประเมินมีดังต่อไปนี้
1.การประเมินผลตามแนวคิด Out-Come Driven Model มีจุดหมาย (Gole) การสอนที่ชัดเจน
2.ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3.การะเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง และการประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ
4.การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
5.การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน

13. การประเมินผล
13.ประเด็นการประเมินผลของรายวิชา พร้อมค่าน้ำหนักเป็นร้อยละ
  1. ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน                              ร้อยละ 10
  2. การฝึกปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน                             ร้อยละ 20
  3. สาธิตการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน                                                        ร้อยละ 20
  4. การเสนอภาคนิพนธ์                                                                                                ร้อยละ 20
  5. การประเมินความรอบรู้ปลายภาคเรียน                                                                  ร้อยละ 30

13.2 กำหนดค่าระดับเกรดแต่ละช่วง (ร้อยละ)
คะแนน (ร้อยละ)
เกรด
80 – 100
A
75 – 79
B+
70 – 74
B
65 – 69
C+
60 – 64
C
55 – 59
D+
50 – 54
D
คะแนนต่ำกว่า 50
F