วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้


แผนการจัดการการเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรซึ่งหมายถึงแนวทางในการสอนที่กระทรวงศึกษาธิการจัดทําขึ้นให้ผู้สอนได้นําไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนหรือแผนการการจัดการเรียนรู้ เพื่อนําผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการศึกษาผู้สอนยาจต้องปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความต้องกับความต้องการของท้องถิ่นได้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา กิจกรรมการเรียน อน สื่อการสอนและการประเมินผล ทั้งนี้ โดยความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลลัพธ์ เมียน หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นหลัก ดังนั้นในการทําแผน การเรียนรู้ หรือในการปรับปรุงการสอน เพื่อให้เกิดการสอนที่ดีผู้สอนจะต้องมีการเตรียมตัวเป็น อย่างดี ในหลายๆ ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ค้านเทคนิควิธี ตลอดจนการนําสื่อมาใช้ เป็นต้น


ข้อควรคํานึงถึงในการทําแผนจัดการเรียนรู้
การทําแผนจัดการเรียนรู้ที่ดีนั้น ผู้สอนจะต้องเตรียมการล่วงหน้า โดยต้องคํานึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาหลักสูตร คู่มือครู หรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนจะต้องศึกษาจุดมุ่งหมายของ หลักสูตรให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ตลอดจนต้องศึกษารายละเอียดของเนื้อหาที่หลักสูตรกําหนดก่อนที่จะลงมือ ทําแผนจัดการเรียนรู้
2. ความมุ่งหมายของสาระที่สอน ต้องให้ครอบคลุมความมุ่งหมายของการศึกษาทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านเจตคติและด้านทักษะ ผู้สอนจะต้องทําความเข้าใจกับความมุ่งหมายเหล่านี้ให้ ชัดเจนจนสามารถกําหนดผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อมีการเรียนการสอนเกิดขึ้น
3. กําหนดขอบเขตของเนื้อหา บทเรียนในกลุ่มสาระต่างๆ ที่จะสอนว่าจะให้มีขอบข่าย กว้างขวาง ตลอดจนความสามารถของผู้เรียนเป็นส่วนประกอบ
4. ทําความเข้าใจเนื้อหาวิชาที่จะสอนอย่างแจ่มแจ้ง ถูกต้อง ชัดเจน รวมทั้งการหาความรู้ เพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. พิจารณาเลือกวิธีสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา วัยวุฒิภาวะของผู้เรียน และควรให้เกิด ประโยชน์สูงสุด สําหรับที่จะสอนเรื่องนั้นๆด้วย
6. พิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมวิธีการสอน
7. กำหนดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่จะนําไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการ เรียนรู้ที่แท้จริงแก่ผู้เรียน
8. ดําเนินการวัดและประเมินผลทุกครั้งที่ทําการสอน ด้วยวิธีต่างๆที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กําหนดไว้
ลักษณะของแผนจัดการเรียนรู้ที่ดี
แผนจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีลักษณะต่างๆดังนี้
1. มีความเหมาะสม สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาตลอดจนปรัชก โรงเรียนด้วย
2. พิจารณากําหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น
3. มีการจัดเนื้อหาสาระให้เหมาะสมกับเวลา สภาพความต้องการและความเป็นจริงของ เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ และให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนยิ่งขึ้น
4. มีการจัดลําดับหัวข้อรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละตอนให้กลมกลืนกัน พร้อม เชื่อมโยงประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยตลอด
5. ควรมีการกําหนดกิจกรรม และประสบการณ์คํานึงถึงวัยผู้เรียน สภาพแวดล้อมการ ความสนใจของผู้เรียน รวมทั้งการใช้แหล่งวิทยาการในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอน
องค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรู้
แผนจัดการเรียนรู้โดยทั่วไป มีองค์ประกอบดังนี้
1. กลุ่มสาระวิชาและเรื่องที่จะสอน
2. หัวเรื่อง
3. ความคิดรวบยอดหรือสาระสําคัญ
4. จุดประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
5. เนื้อหาหรือสาระการเรียนรู้
6. กิจกรรมการเรียนการสอน
7. สื่อการเรียนการสอน
8. ประเมินผล
9. หมายเหตุ
การปรับแผนจัดการเรียนรู้โดยทั่วไปที่ทางกระทรวงศึกษาธิการ หรือกรมวิชาการหรือ สํานักพิมพ์ต่างๆ จัดทําขึ้นนั้น เป็นแผนจัดการเรียนรู้กลางๆ ที่เป็นแนวทางให้ผู้สอนได้นําไปใช้ เหมือนกันทั้งประเทศ ดังนั้น เมื่อจะนํามาใช้จริงๆ ในห้องเรียนผู้สอนจะต้องปรับแผนนั้นๆ เสียก่อน โดยอาจเพิ่มหรือลด ให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนที่สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกันทําขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับวัยความต้องการ และสภาพแวดล้อม ของผู้เรียนแผนจัดการเรียนรู้ที่ปรับแล้วดังกล่าว จึงเป็นแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่ผู้สอนสามารถ นําไปใช้สอนได้จริงๆ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการปรับแผนจัดการเรียนรู้ในที่นี้หมายถึง การที่ผู้สอนนํา แผนจัดการเรียนรู้ที่มีการจัดทําไว้แล้วมาตีความ ขยาย ลดเพิ่ม หรือดัดแปลงปรับปรุงให้เหมาะสม
การปรับแผนจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบต่างๆ ในข้างต้น สามารถปรับได้ตามขอบเขตของ การปรับแผนจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. จุดประสงค์หรือแผนการเรียนรู้ ผู้ปรับแผนจัดการเรียนรู้จะต้องปรับจุดประสงค์บางเรื่องให้ -สงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถประเมินผลหรือวัดได้ โดยคํานึงถึงจุดประสงค์ทั่วไปที่กําหนด
เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามาร ไว้ในหลักสูตรและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นสําคัญ
2. เนื้อหา เนื้อหาสาระในแผนจัดการเรียนรู้ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดเนื้อหา ไว้เป็นเพียงหัวข้อหยาบๆ หรือเป็นเพียงเค้าโครงเท่านั้น ในบางหน่วยอาจจะมีรายละเอียด เพิ่มเติมไว้ในหลักสูตร เพื่อให้สะดวกต่อการจัดการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการปรับเนื้อหาจึงสามารถทําได้ดังนี้
2.1 ปรับส่วนของเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน โดยนําเนื้อหาที่เป็น
หัวข้อ หรือที่เป็นเค้าโครงนั้นมาทําให้ละเอียดชัดขึ้น
2.2 ปรับส่วนของเนื้อหาต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น โดยการนําเนื้อหามาพิจารณา และปรับให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของท้องถิ่น
2.3 จัดเรียงลําดับหมวดหมู่ของเนื้อหาเสียใหม่โดยนําเนื้อหาที่กําหนดได้มาจัดเป็นหมวด เป็นหม่ เป็นพวก เป็นกลุ่มหรือบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อสะดวกแก่การสอน
3. กิจกรรมการเรียนการสอน ในแผนจัดการเรียนรู้ได้กําหนดกิจกรรมเสนอแนะไว้มากมายเพื่อ เป็นแนวทางในการสอน และช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์หรือมาตรฐานการเรียนรู้ ที่กําหนดไว้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดในแผนจัดการเรียนรู้บางหน่วย ผู้สอนอาจจะ ดัดแปลง หรือปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบทเรียนได้ โดยจะต้องคํานึงว่ากิจกรรมการเรียนการสอน นั้นๆ ต้องเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ มุ่งฝึกปฏิบัติและฝึกทักษะในการแก้ปัญหาและสามารถช่วยให้ผู้เรียน ผ่านจุดประสงค์ของการเรียนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
4. สื่อการเรียนการสอน ที่กําหนดไว้ในแผนจัดการเรียนรู้ประกอบด้วยของจริง ของจําลอง วัสดุอุปกรณ์ แผนภูมิ แผ่นภาพและอื่นๆซึ่งผู้สอนจะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทอื่นๆที่ หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆมาแทนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสนุกสนานในบทเรียนและอยากจะเข้าร่วม ในกิจกรรมการเรียนมากขึ้น
5. การประเมินผล ในแผนจัดการเรียนรู้กลางของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการนั้นได้ กําหนดวิธีการประเมินผลไว้ให้ผู้สอนได้เลือกใช้หลายวิธี ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกและแนะนํามาปรับใช้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียน วัยวุฒิภาวะและความสามารถของผู้เรียน ตามจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้
รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ สามารถจัดกลุ่มตามลักษณะต่างๆ ได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ตามลักษณะการเขียน แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ
1.1 แบบเรียงหัวข้อ เป็นแผนจัดการเรียนรู้ที่เสนอแผนโดยเขียนเรียงลําดับตามหัวข้อที่ กําหนดไว้ก่อนหลัง โดยไม่ต้องคีตาราง รูปแบบนี้มีข้อดีคือ สะดวกแก่ผู้สอนในการเรียน เพราะจะไม่ เสียเวลาในการตีตาราง เขียนได้ง่ายกระชับ แต่มีข้อจํากัด คือยากต่อการตรวจดูความสอดคล้องสัมพันธ์ ของแต่ละหัวข้อเพราะเขียนอยู่คนละหน้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแผนจัดการเรียนรู้รูปแบบเรียงหัวข้อนี้จะมี ความยาวประมาณ 2 หน้ากระดาษ โดยเขียนเรียงกันตามหัวข้อต่อไปนี้
1.1.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
1 1.1.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอน และเวลาที่สอนเป็นคาบหรือชั่วโมง
1.1.3 ชื่อหัวเรื่อง
1.1.4 ความคิดรวบยอด
1.1.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.1.6 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.1.7 สื่อการเรียนการสอน
1.1.8 การประเมินผล
1.1.9 หมายเหตุ
1.2 แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตาราง แผนจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้บางครั้งนิยมเรียกสั้นๆ ว่า จัดการเรียนรู้แบบกึ่งตาราง เป็นแผนจัดการเรียนรู้ที่เสนอข้อความตามหัวข้อส่วนหนึ่ง และ รายละเอียดลงในตารางอีกส่วนหนึ่ง โดยส่วนที่เขียนเรียงความหัวข้อมีดังนี้
1.2.1 ชื่อวิชาและระดับชั้น
1.2.2 ชื่อหน่วย เรื่องที่จะสอนและเวลาที่สอนเป็นคาบ
1.2.3 ชื่อหัวเรื่อง
1.2.4 ความคิดรวบยอด
1.2.5 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.2.6 เนื้อหา
1.2.7 กิจกรรมการเรียนการสอน
1.2.8 สื่อการเรียนการสอน
1.2.9 ประเมินผล
1.2.10 หมายเหตุ
การเขียนแผนจัดการเรียนรู้แบบกึ่งตารางนี้มีข้อดีที่กําหนดขั้นตอนการสอนตามเนื้อหากําหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและประเมินผลอย่างละเอียด ทําให้ผู้สอนที่นําแผน จัดการเรียนรู้ไปใช้สามารถทําแผนจัดการเรียนรู้ตามแผนจัดการเรียนรู้ได้โดยสะดวก ส่วนข้อจํากัด คือ แผนจัดการเรียนรู้แบบกึ่งหัวข้อกึ่งตารางนี้ จะทําให้ยากกว่าแบบเรียงหัวข้อ เพราะจะต้องตีตาราง มีการ กรอกข้อความลงในตารางที่จะต้องมีความชัดเจน และสัมพันธ์กันโดยตลอด
2. รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ตามลักษณะของการใช้ การสอนในระดับต่างๆ ได้แก่อนุบาล - ชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษา และอุดมศึกษานั้น ย่อมมีรูปแบบของ แผน - เรียนรู้ที่แตกต่างกัน เพื่อความเหมาะสมและสะดวกในการใช้ในแต่ละระดับชั้น ซึ่งพอสรุป รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับระดับชั้นได้ ดังนี้
2.1 ระดับอนุบาลและช่วงชั้นที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษา นิยมใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบถึง เพราะทําให้ผู้สอนสามารถกําหนดกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับจุดประสงค์ สือการ
สอนและการประเมินผลได้ชัดเจน
2.2 ระดับช่วงชั้นที่ 3-4 ชั้นมัธยมศึกษานิยมใช้แบบกึ่งตารนในระดับมัธยมศอนต้น ม.1 ส่วนช่วงชั้นที่4 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) นิยมใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อ
2.3 ระดับอุดมศึกษา นิยมใช้แผนจัดการเรียนรู้แบบเรียงหัวข้อเพราะกะทัดรัดและผู้สอน สามารถเขียนแผนจัดการเรียนรู้ได้โดยใช้เวลาไม่มากนัก
ขั้นตอนในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้
ก่อนที่จะลงมือเขียนแผนจัดการเรียนรู้ ผู้สอนควรได้ศึกษารายละเอียศตามขั้นตอนในการเขียน แผนจัดการเรียนรู้ ตามหัวข้อต่างๆ โดยศึกษาจากคําหนดการสอนและตารางสอนว่าเรื่องที่จะสอนนั้น เป็นเรื่องอะไร ใช้เวลาสอนกี่คาบ แล้วศึกษาแผนจัดการเรียนรู้แม่บทของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และคู่มือครู โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแผนจัดการเรียนรู้แม่บท และปรับแผนจัดการเรียนรู้โดยแบ่งหัวข้อของเนื้อหาโดยย่อย ลงไปในการแบ่งหัวข้อของเนื้อหาจะแบ่งย่อยพอที่จะสอนในแต่ละครั้ง ซึ่งเวลาที่จะสอนในแต่ละครั้งจะ ไม่เท่ากันแล้วแต่เนื้อหาและการจัดตารางสอนของแต่ละโรงเรียน
2 ศึกษาความคิดรวบยอดทั้งหมดของแม่บทนั้นหรือเรื่องนั้นให้เข้าใจ
3. ศึกษาจุดประสงค์มาตรฐานการเรียนรู้ทั้งหลายของสาระนั้น เพื่อทําความเข้าใจว่าสอนแบบนี้ แล้ว ผู้เรียนทําอะไรบ้าง ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทดสอบการ เรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
4. ศึกษาเนื้อหาและรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง สอดคล้องกับความคิดรวบยอดและจุดประสงค์ที่ กําหนดได้หรือไม่ เนื้อหาแต่ละเรื่องสอดคล้องกับสาระในจุดประสงค์ข้อใด และความคิดรวบยอดข้อใด
5. ศึกษากิจกรรมการเรียนทั้งหมดตรวจสอบดูว่ากิจกรรมทั้งหมดแต่ละเรื่องตรงตามเนื้อหา หรือไม่ จะต้องหามาได้โดยวิธีใด อย่างไร และถ้าทําเองจะทันเวลาหรือไม่
6. ศึกษาการวัดผลและการประเมินผลแต่ละครั้งที่สอนว่าใช้วิธีการอย่างไร วิธีเหล่านั้น เหมาะสมกับการวัดเนื้อหาและกิจกรรมที่กล่าวไว้หรือไม่

การเขียนแผนจัดการเรียนรู้
จากองค์ประกอบของแผนจัดการเรียนรู้รูปแบบของแผนจัดการเรียนรู้และขั้นตอนในการ เขียนแผนจัดการเรียนรู้เราสามารถนํามาเขียนเป็นแผนจัดการเรียนรู้ระดับชั้นต่างๆ หรือตามความ ต้องการและความละเอียดในการใช้ได้ตามหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. ชื่อกลุ่มสาระช่วงชั้นและระดับชั้น เมื่อกําหนดที่จะทําแผนจัดการเรียนรู้ของกลุ่มสาระหรือ เนื้อหาใดควรเขียนให้ละเอียด เช่น กลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่3 เรื่องการ เขียนเรียงความ เป็นต้น
2. ชื่อหน่วย หัวเรื่อง เวลาและวันที่เมื่อกําหนดกลุ่มสาระหรือเรื่องที่จะสอนแล้วให้ดใน แผนการจัดการเรียนรู้ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ศึกษาหน่วยที่เท่าไร เช่นหน่วยที่ 2 ชีวิตในบ้าน เรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว เวลา 17 คาบวันที่ 7 สิงหาคม 2549 เป็นต้น
3. มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด ซึ่งหมายถึงสาระสําคัญข้อสรุปหรือความคิดครั้งสุดท้ายที่ เกิดกับผู้เรียนในลักษณะที่สั้นที่สุดความคิดนี้จะเกิดขึ้นหลังจากผู้เรียนได้รับประสบการณ์และเกิดการ เรียนรู้เรื่องนั้นแล้ว มโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดนี้จะเป็นทักษะที่เป็นแก่นแท้ของเนื้อหาวิชาความคิด รวบยอดของแต่ละคนที่เกี่ยวกับสิ่งเดียวกันอาจไม่เหมือนกัน เพราะประสบการณ์ต่างๆ กันและความคิด รวบยอดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากผู้เรียนได้รับประสบการณ์ใหม่ที่ต่างจากเดิม แต่เมื่อผู้เรียนเกิด การเรียนรู้แล้วผู้เรียนจะต้องสรุปลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นเมื่อพบสิ่งใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับสิ่งที่เคยพบมาก่อนก็สามารถบอกได้ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นสิ่งใหม่ ตัวอย่างความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ เช่นเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของสมาชิกในครอบครัว มีความคิดรวบยอดว่าการที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดี ครอบครัวย่อมมีความสุข เป็นต้นบางแผนจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นอุดมศึกษา หัวข้อนี้อาจ ใช้คําว่าสาระสําคัญหรือแนวคิดก็ได้
4. คุณสมบัติที่ต้องการเน้น โดยทั่วไปแผนจัดการเรียนรู้เดิมจะไม่มีการเขียนไว้ แต่การเรียนการสอนในปัจจุบันจะเน้นให้มีการฝึกให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่างๆโดยในการสอนแต่ละครั้งผู้สอนควรจะพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนที่สอนในแต่ละครั้งว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการ เรียนรู้และคุณธรรม 30 ข้อในจริยศึกษาข้อใดบ้างที่มีคุณสมบัติที่ต้องการเน้นผู้เรียนทํางานร่วมกันคุณสมบัติที่ต้องการเน้นก็อาจจะได้แก่ ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความมีเหตุผลเป็นต้น ในส่วน ของคุณสมบัติที่ต้องการเน้นตามมาตรฐานการเรียนผู้นี้ในแผนจัดการเรียนรู้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
5. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็นจุดประสงค์ที่สังเกตและวัดได้เมื่อผู้เรียนศึกษาหรือเรียนเรื่อง นั้นๆแล้วเกิดการเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในปัจจุบันตามแผนการจัดการเรียนรู้นิยมเขียนจุดประสงค์ในแผนจัดการเรียนรู้หรือแผนการจัดการเรียนรู้เป็น 2 ประเภท
5.1 จุดประสงค์ทั่วไป หรือในแผนจัดการเรียนรู้ใช้คําว่า จุดประสงค์ปลายทางซึ่งหมายถึง กําหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อการเรียนการสอนเรื่องนั้นๆ จบสิ้นลง น ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอากาศและประโยชน์ของอากาศต่อสิ่งมีชีวิตได้ เป็นต้น
52 จุดประสงค์เฉพาะในแผนจัดการเรียนรู้ใช้คําว่า จุดประสงค์นําทางซึ่งหมายถึงการกําหนดจุดประสงค์การเรียนการสอนในรูปแบบของพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้วซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังเกตและวัดได้ เช่น เมื่อผู้เรียนศึกษาอากาศและส่วนประกอบของอากาศจบแล้ว ผู้เรียนสามารถบอกความหมายของอากาศและบรรยากาศได้ อธิบายส่วนประกอบของอากาศได้ ระบุประโยชน์ของอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกได้ เป็นต้น
6. เนื้อหา ในปัจจุบันอาจใช้สาระการเรียนรู้เป็นเนื้อหาสาระของบทเรียนในระดับชั้นต่างๆที่ กําหนดไว้ในหลักสูตรของระดับชั้นนั้นๆเนื้อหาที่กําหนดไว้นี้จะเป็นเพียงหัวข้อเรื่อง หรือเค้าโครงเรื่อง สั้นๆ เท่านั้นผู้สอนจําเป็นต้องนําหัวข้อหรือเค้าโครงเหล่านั้นมาขยาย ศึกษาและหารายละเอียดเพิ่มเติม จากเอกสารต่างๆ เขียนบันทึกขยายความในแผนจัดการเรียนรู้ให้ชัดเจนว่าต้องสอนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้นๆ มีขอบเขตของเนื้อหากว้างขวางลึกซึ้งเพียงใด
7. กิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันนิยมยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางฉะนั้นผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม เพื่อนําไปใช้ในการเรียน การสอนให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่กําหนดไว้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพของตนในขณะที่เรียนได้อย่างเต็มที่ มีการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์และสติปัญญา(รายละเอียดของเรื่องกิจกรรมการเรียนการ สอนได้นําเสนอไว้ในเอกสารคําสอน บทที่ 14)กิจกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปในแผนจัดการ เรียนรู้ จะแบ่งออกเป็น4 ชั้น ได้แก่ ชั้นนําเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอน ขั้นสรุปและขั้นวัดผล สําหรับขั้น วัดผลนี้อาจอยู่ในส่วนของการประเมินผล
8. สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือหรือวิธีการต่างๆล้วนแล้วแต่เป็นสื่อการเรียนการสอน ทั้งสิ้นซึ่งสื่อการเรียนการสอนนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากศึกษาอยากเรียน อยาก รู้ และในบางครั้งช่วยเร้าความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองได้ อีกด้วย ผู้สอนควรมีทักษะในการเลือกใช้ การใช้การทํานุบํารุงรักษา ตลอดจนการประดิษฐ์สื่อการ เรียนการสอนขึ้นใช้เองหรือแสวงหาจากท้องถิ่นของตนโดยคํานึงถึงการประหยัดทั้งทุนทรัพย์และเวลา เป็นสําคัญ
9. การประเมินผล การประเมินผลนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการวัดผลในกระบวนการเรียนการ สอน ผู้สอนนําผลจการวัดด้วยวิธีการต่างๆเช่นการตอบคําถาม การเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างเรียนการสังเกตพฤติกรรมในการเรียนรู้ การทําแบบฝึกหัด เป็นต้นมาประเมินผลโดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ จะทําให้ผู้สอนสามารถทราบได้ว่าผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น