วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การกำหนดคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิดSOLO Taxonomy



 การกำหนดคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy
จุดมุ่งหมาย
เพื่อให้เข้าใจถึงการประเมินการเรียนรู้ที่ส่งผลไปยังการประเมินหลักสูตร จากการถ่ายทอดของผู้เรียนตามรูปแบบของ SOLO Taxonomy
เนื้อหา
SOLO Taxonomy คือ การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอน และการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่ SOLO Taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้ สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือ ครูจะมีวิธีสอนอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขั้น SOLO Taxonomy ได้รับการเสนอโดยJohn B. Biggs และ K. Collis

1. Prestructural (ระดับโครงสร้างนามธรรมขั้นพื้นฐาน): ผู้เรียนไม่เข้าใจจุดประสงค์และมีวิธีการเรียนที่ง่ายเกินไป จึงทำให้ความเข้าใจเกิดพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Unistructural (ระดับมุมมองเดียว): การตอบสนองของผู้เรียนมุ่งเน้นเพียงด้านเดียว เช่นระบุชื่อ ทำตามง่ายๆ และจำ
3. Multistructural (ระดับหลายมุมมอง): การตอบสนองของผู้เรียนมุ่งเน้นในหลายด้าน โดยผู้เรียนจะเติมแต่งการเรียนรู้เหล่านั้นด้วยตนเอง เช่น เชื่อมโยง อธิบาย และยกตัวอย่างการประเมินในระดับนี้จะยึดการประเมินเชิงปริมาณเป็นหลัก
4. Relational (ระดับเน้นความสัมพันธ์): ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ นำไปใช้ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง อธิบายเชิงเหตุผล และแสดงความสัมพันธ์
5. Extended Abstract (ระดับขยายนามธรรม): ผู้เรียนสามารถนำความรู้ก่อนหน้ามาสร้างสรรค์ สรุปอ้างอิง ตั้งสมมติฐาน สะท้อนความรู้ความสามารถ และสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น