วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

รูปแบบการเรียนการสอน


1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
1.1 ความหมายของรูปแบบ (Model)
รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใด หนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
รูปแบบเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบสอบหาคําตอบความรู้ ความเข้าใจ ในปรากฎการณ์ทั้งหลาย ปกติการศึกษาวิจัยเรื่องใดๆ ก็ตาม ผู้ศึกษาจะต้องตั้งคําถามที่ต้องการคําตอบ ซึ่ง ในกระบวนการวิจัยจะมีการตั้งสมมติฐานหรือชุดของสมมติฐานขึ้นมา ซึ่งก็คือคําตอบที่คาดคะเนไว้ ล่วงหน้า สมมติฐานเหล่านี้มักจะได้มาจากข้อความรู้หรือข้อค้นพบที่ผ่านมา หรืออาจจะเกิดจาก ประสบการณ์หรือการหยั่งรู้ (intuition) ของผู้ศึกษาวิจัยหรืออาจจะเกิดจากทฤษฎีหลักการต่างๆ สมมติฐานเป็นข้อความที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหรือตัวแปรต่างๆ ของเรื่อง สถานการณ์ปัญหานั้นๆ ซึ่งจะยังคงเป็นเพียงเครื่องมือในการแสวงหาคําตอบนั้นๆ ซึ่งจะยังคงเป็นเพียง เครื่องมือในการแสวงหาคําตอบเท่านั้นจนกว่าจะได้รับการนําไปพิสูจน์ทดสอบ หากสมมติฐานเป็นจริง ข้อความนั้นจะสามารถนําไปใช้ในการทํานาย หรืออธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ ได้ รูปแบบเช่นเดียวกันกับ สมมติฐานที่บุคคลอาจสร้างขึ้นจากความคิด ประสบการณ์ การใช้อุปมาอุปไมย หรือจากทฤษฎีและ หลักการต่างๆ ได้ แต่รูปแบบไม่ใช่ทฤษฎี ดีฟส์ (Keeves J.1997 : 386 387) รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมี องค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนําไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (Structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)
รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 4 แบบ หรือ 4 ลักษณะ คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึง
ใน Keeves, 1997 : 386 387)

1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกในลกย 4 ของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านวิทยาศาสตร์ กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการใช้ภาษา (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3. รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางสูตร คณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4. รูปแบบเชิงแผนผัง (Schematic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแผนผัง แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็นแบบนี้ เป็นส่วนใหญ่
จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้ว่า รูปแบบทางด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็นรูปแบบเชิงสาเหตุ และการใช้คําว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความหมายในลักษณะเดียวกันกับระบบการเรียนการสอน หากพิจารณาตามนัยของคุณสมบัติอันเป็นองค์ประกอบสําคัญ กล่าวคือ เป็นลักษณะของการเรียนการ สอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบตามปรัชญา ทฤษฎี หลักการ หรือความเชื่อต่างๆ โดยมีความ ครอบคลุมองค์ประกอบที่สําคัญๆ ของการศึกษาหรือการเรียนการสอนในภาพรวมและนิยมใช้คําว่า “รูปแบบ” กับระบบที่ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ “วิธีการสอน” นั่นเอง
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงสามารถให้คํานิยามได้ว่า “รูปแบบการเรียนการสอน คือ สภาพ ลักษณะ ของการเรียนการสอนที่ครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ ตามหลัก ปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยประกอบด้วย กระบวนการหรือขั้นตอนสําคัญ ในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ ที่สามารถช่วยให้สภาพการเรียนการสอน นั้นเป็นไปตามทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดที่ยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ หรือยอมรับว่ามี ประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของรูปแบบ นั้นๆ” ดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนจึงจําเป็นต้องมีองค์ประกอบสําคัญๆ ดังนี้
ก. มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบ การสอนนั้นๆ
ข. มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ
หลักการที่ยึดถือ
ค มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพัน มของระบบให้สามารถนําผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้นๆ
ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนําผู้เรียนไปสู่เป้าหมา
ง. มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ อันจะช่วยให้ กระบวนการเรียนการสอนนั้นๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รูปแบบการเรียนการสอนจะต้องได้รับการพิสูจน์ทดสอบ สามารถทํานายผลที่จะเกิดตามมา ได้ และมีศักยภาพในการสร้างความคิดรวบยอดและความสัมพันธ์ใหม่ๆ ได้
1.รูปแบบการเรียนการสอนและระบบการเรียนก
ในการจัดระบบใดๆ ก็ตาม ย่อมต้องมีการกําหนดองค์ประกอบและจัดองค์ประกอบของ ระบบให้มีความสัมพันธ์กันอย่างดี เพื่อนําไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ ซึ่งอาจจะจัดในกรอบความคิดของ ตัวป้อน กระบวนการกลไกควบคุม ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ หรือจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ ของระบบนั้นให้เป็นไปตามลําดับขั้นตอนที่จะช่วยให้ระบบนั้นมีประสิทธิภาพ ดังนั้นระบบการจัดการ เรียนการสอนก็คือ องค์ประกอบต่างๆ ของการเรียนการสอนที่ได้รับการจัดไว้ให้มีความสัมพันธ์และ ส่งเสริมกันอย่างเป็นระเบียบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนตามจุดมุ่งหมายที่กําหนดไว้ ระบบการจัดการ เรียนการสอนเป็นระบบย่อยของระบบการศึกษา และอาจจัดได้ในลักษณะที่เป็นระบบใหญ่ คือเป็นระบบ ที่ครอบคลุมองค์ประกอบของการเรียนการสอนมาจัดเป็นระบบย่อยๆ ลงไปอีกก็ได้
ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนนั้น หมายถึง “สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการ สอนนั้น อย่างเป็นระบบระเบียบตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลัก แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัด กระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ เข้าไปช่วยทํา ให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ และได้รับการพิสูจน์และทดสอบแล้วว่ามี ประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนได้”
เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเห็นได้ว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนใดจะกลายเป็นรูปแบบได้นั้น ก็จะต้องผ่านการจัดองค์ประกอบต่างๆ ให้เป็นระบบเสียก่อน ซึ่งก็แน่นอนว่าในการจัดระบบจะต้อง คํานึงถึงทฤษฎีและหลักการรวมทั้งสภาพการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นระบบจะจัดการเรียนการสอนกับ รูปแบบการเรียนการสอนจึงมีความหมายที่แท้จริงตรงกันในสาระหลักที่สําคัญด้วยเหตุนี้ เราจึงมักเห็น การใช้คํา 2 คํานี้สลับทดแทนกันบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคําทั้งสองจะมีความในสาระหลักเหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตและ วิเคราะห์จากการใช้กันโดยทั่วๆ ไปแล้วจะเห็นได้ว่า มีความนิยมในการใช้แตกต่างกันไปบ้าง ดังที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้นว่า “ระบบการจัดการเรียนการสอนเป็นระบบย่อยของระบบการศึกษา และอาจจัดได้ใน ณะที่เป็นระบบใหญ่ ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบย่อยๆ ของการเรียนการสอนมาจัดเป็นระบบย่อยๆ ลงไปอีกก็ได้” จากการสังเกตและวิเคราะห์ผลงานของนักการศึกษาผู้ค้นคิดระบบและรูปแบบการจัดการ เรียนการสอนต่างๆ พบว่า นักศึกษานิยมใช้คําว่า “ระบบ ในความหมายที่เป็นระบบใหญ่ เช่น ระบบ การศึกษา หรือถ้าเป็นระบบการเรียนการสอนมาเป็นระบบการเรียนการสอน ก็จะครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญๆ ของการเรียนการ สอนในภาพรวม และนิยมใช้ คําว่า “รูปแบบ” กับระบบที่ย่อยกว่า โดยเฉพาะกับ “วิธีสอน”ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยที่สําคัญของระบบการเรียนการสอน ดังนั้นการนําวิธีการเรียนการสอนใดๆ
มาจัดทําอย่างมีระบบตามหลักและวิธีการจัดระบบแล้ว วิธีการสอนนั้น ก็จะกลายเป็น “ระบบวิธีสอน หรือที่นิยมเรียกว่า “รูปแบบการเรียนการสอน”
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ระบบการจัดการเรียนการสอน กับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนนน มีความหมายเหมือนกัน แต่นิยมใช้ต่างกันในแง่ของระบบใหญ่และระบบย่อย ระบบการจัดการเรียนการ สอนนิยมใช้กับระบบใหญ่ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบสําคัญของการเรียนการสอนในภาพรวม ส่วน รูปแบบการเรียนการสอนนิยมใช้กับระบบที่ย่อยกว่า เช่น ระบบวิธีสอนแบบต่างๆ ซึ่งในหัวข้อต่อไปจะ เสนอตัวอย่างระบบวิธีสอนหรือรูปแบบการเรียนการสอนหรือรูปแบบการเรียนการสอนแบบต่างๆ ที่สําคัญเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจขึ้น และช่วยให้แนวทางที่จะจะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1.รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่งผู้เขียนได้คัดเลือกมากล่าวในบทนี้ล้วนได้รับการ พิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้ว และมีผู้นิยมนําไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่เนื่องจาก รูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจํานวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและนําไปใช้ ผู้เขียนจึงได้ จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่ง สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective domain)
3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (psycho - motor domain)
4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (process skills)
5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (integration)
เนื่องจากจํานวนรูปแบบและรายละเอียดของแต่ละรูปแบบมีมากเกินกว่าที่จะนําเสนอไว้ใน ที่นี้ได้ทั้งหมด ผู้เขียนจึงได้คัดสรร และนําเสนอเฉพาะรูปแบบที่ผู้เขียนประเมินว่า เป็นรูปแบบที่จะเป็น ประโยชน์ต่อครูส่วนใหญ่และมีโอกาสนําไปใช้ได้มาก โดยผู้เขียนจะเสนอเฉพาะสาระที่เป็นแก่นสําคัญ ของรูปแบบ 4 ประการ คือ ทฤษฎีหรือหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการของ รูปแบบ และผลที่จะได้รับจากการใช้รูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้ภาพรวมของรูปแบบ อันจะช่วยให้ ตัดสินใจในเบื้องต้นได้ว่าแบบใดมีลักษณะตรงกับความต้องการของตน หากตัดสินใจแล้วต้องการ รายละเอียดเพิ่มเติมในรูปแบบใด สามารถนําไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือซึ่งให้ราย ๆ มา บรรณานุกรม
อนึ่ง รูปแบบการเรียนการสอนที่นําเสนอนี้ ล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีลักษณะ ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น เพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงจุดของด้านที่ต้องการพัฒนาในตัวผู้เรียน และปริมาณของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งมีมากน้อยแตกต่าง อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านพึงระลึกอยู่เสมอว่า แม้รูปแบบแต่ละหมวดหมู่จะมีจุดเน้นที่แตกต่างกัน ก็มิได้หมายความว่า รูปแบบนั้นไม่ได้ใช้หรือพัฒนาความสามารถทางด้านอื่นๆ เลย อันที่จริงแล้วการสอนแต่ละครั้ง
มักประกอบไปด้วยองค์ประกอบทางด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย รวมทั้งทักษะกระบวนการ ทางสติปัญญา เพราะองค์ประกอบทั้งหมดมีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด การจัดหมวดหมู่ของรูปแบบ เป็นเพียงเครื่องแสดงให้เห็นว่า รูปแบบนั้นมีวัตถุประสงค์หลักมุ่งเน้นไปทางหนึ่งเท่านั้น แต่ส่วนประกอบด้านอื่นๆ ก็ยังคงมีอยู่เพียงแต่จะมีน้อยกว่าจุดเน้นเท่านั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น