วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย


2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพัฒนา หรือปลูกฝัง การ จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เพียงช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการช่วย ให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จําเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม รูปแบบที่คัดสรรมานําเสนอ ในที่นี้มี 4 รูปแบบดังนี้
2.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของ แครทโวลบลม และมาเซีย
2.รูปแบบการเรียนการสอนโดยการซักค้าน 2.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ 2.รูปแบบการเรียนการสอนโดยวิธีทําความกระจ่างในค่านิยม
2.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของแครทโวลบลูม และมาเซีย (Instructional Model Based on Affective Domain by Krathwohl, Bloom and Masia)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
แครทโวลบลมและมาเซีย (Bloom, 1956) ได้จําแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านความรู้ (cognitive domain) ด้านเจตคติหรือความรู้สึก (affective domain) และ ด้านทักษะ (psychomotor domain) ซึ่งในด้านเจตคติหรือความรู้สึกนั้น บลูม ได้จัดลําดับขั้นตอนของการ เรียนรู้ ไว้ 5 ขั้นตอน
1. ขั้นการรับรู้ (receiving or attending) ซึ่งก็หมายถึงการที่ผู้เรียนได้รับรู้ค่านิยมที่ ต้องการจะปลูกฝังในตัวผู้เรียน
2. ขั้นการตอบสนอง (responding) ได้แก่ การที่ผู้เรียนได้รับรู้และเกิดความสนใจ ในค่านิยมนั้น แล้วเกิดเห็นคุณค่าของค่านิยมนั้น แล้วมีโอกาสได้ตอบสนองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
3. ขั้นการเห็นคุณค่า (valuing) เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับค่านิยม นั้น แล้วเกิดเห็นคุณค่าของค่านิยมนั้น ทําให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้น
4. ขั้นการจัดระบบ (organization) เป็นขั้นที่ผู้เรียนรับค่านิยมที่ตนเห็นคุณค่านั้น เข้ามาอยู่ในระบบค่านิยมของตน
5. ขั้นการสร้างลักษณะนิสัย (characterization) เป็นขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติตนตาม ค่านิยมที่ตนรับมาอย่างสม่ําเสมอและทําจนเป็นนิสัย
ถึงแม้ว่าบลูมได้เสนอแนวคิดดังกล่าวเพื่อใช้ในการกําหนดวัตถุประสงค์ ในการเรียนการสอนก็ตาม แต่ก็สามารถนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยปลูกฝังค่านิยม ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
อข่ายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้สึก/เจตคติ/ค่านิยม คุณธรรม หรือ จริยธรรม ที่พึงประสงค์ อันจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การสอนเพื่อปลูกฝังค่านิยมใดๆ ให้แก่ผู้เรียน สามารถดําเนินการตามลําดับขั้น ของวัตถุประสงค์ทางด้านเจตคติของ
บลูมได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การรับรู้ค่านิยม (receiving/attending)
ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับรู้ในค่านิยมนั้นอย่าง ใส่ใจ เช่น เสนอกรณีตัวอย่างที่เป็นประเด็นปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับค่านิยมนั้น คําถามที่ท้าทายความคิด เกี่ยวกับค่านิยมนั้น เป็นต้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การรู้ตัว (awareness)
2. การเต็มใจรับรู้ (wilingness)
3. การควบคุมการรับรู้ (control)
ขั้นที่ 2 การตอบสนองต่อค่านิยม (responding)
ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองต่อค่านิยมนั้นในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เช่น ให้พูดแสดงความคิดเห็นต่อค่านิยมนั้น ให้ลองทําตามค่านิยมนั้น ให้สัมภาษณ์หรือ พูดคุยกับผู้ที่มีค่านิยมนั้น เป็นต้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การยินยอมตอบสนอง (acquiescence in responding)
2. การเต็มใจตอบสนอง (willingness to respond)
3. ความพึงพอใจในการตอบสนอง (satisfaction in response)
ขั้นที่ 3 การเห็นคุณค่าของค่านิยม (valuing)
ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของค่านิยม นั้น เช่น การให้ลองปฏิบัติตามค่านิยมแล้วได้รับการตอบสนองในทางที่ดี เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตน หรือบุคคลอื่นที่ปฏิบัติตามค่านิยมนั้น เห็นโทษและได้รับโทษจากการละเลยไม่ปฏิบัติตามค่านิยมนั้น เป็นต้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การยอมรับในคุณค่านั้น (acceptance of a value)
2. การชื่นชอบในคุณค่านั้น (preference for a value)
3. ความผูกพันในคุณค่านั้น (commitment)
ขั้นที่ 4 การจัดระเบียบค่านิยม (organization)
เมื่อผู้เรียนเห็นคุณค่าของค่านิยมและเกิดเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้น และมีความโน้ม เอียงที่จะรับค่านิยมนั้นมาใช้ในชีวิตของตน ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนพิจารณาค่านิยมนั้นกับค่านิยม
หรือคุณค่าอื่นๆ ของตน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมต่างๆ ของตน ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายาม กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การสร้างมโนทัศน์ในคุณค่านั้น (conceptualization of value) 2. การจัดระบบคุณค่านั้น (organization of a value system) ขั้นที่ 5 การสร้างลักษณะนิสัย (characterization by value)
ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนตามค่านิยมนั้นอย่างสม่ําเสมอ โดยยึดตามผล การปฏิบัติ และให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรงเป็นระยะๆ จนกระทั้งผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จน เป็นนิสัย ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การมีหลักยึดในการตัดสินใจ (generalization set) 2. การปฏิบัติตามหลักยึดนั้นจนเป็นนิสัย (characterization)
การดําเนินงานตามขั้นตอนทั้ง 5 ไม่สามารถทําได้ในระยะเวลาอันสั้น ต้องอาศัย เวลา โดยเฉพาะขั้นที่ 4 และ 5 ต้องการเวลาและประสบการณ์ ซึ่งอาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปในผู้เรียน แต่ละคน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์จนถึงระดับที่สามารถปฏิบัติได้ จนเป็นนิสัย นอกจากนั้นผู้เรียนยังได้เรียนรู้กระบวนการในการปลูกฝังค่านิยมให้เกิดขึ้น ซึ่งผู้เรียน สามารถนําไปใช้ในการปลูกฝังค่านิยมอื่นๆ ให้แก่ตนเองและผู้อื่นต่อไป

2.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการซักค้าน (Jurisprudential Model)
ก. ทฤษฎีหลักการแนวคิดของรูปแบบ
จอยส์ และวีล (Joyce & Well, 1996 : 106 – 128) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากแนวคิด ของโอลิเวอร์และเชเวอร์ (Oliver and Shaver) เกี่ยวกับการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในประเด็นปัญหา ขัดแย้งต่างๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องค่านิยมที่แตกต่างกัน ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นปัญหาทางสังคม หรือ ปัญหาส่วนตัว ที่ยากแก่การตัดสินใจ การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ก็คือการสามารถเลือกทางที่เป็น ประโยชน์มากที่สุด โดยกระทบต่อสิ่งอื่นๆ น้อยที่สุด ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น วิเคราะห์หาค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังปัญหา ประมวลข้อมูล ตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผล และแสดงจุดยืนของตนได้ ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการซักค้าน อันเป็นกระบวนการที่ใช้กันในศาล มาทดสอบผู้เรียนว่าจุดยืนที่ตนแสดงนั้นเป็นจัดยืนที่แท้จริงของตน หรือไม่ โดยการใช้คําถามซักค้านที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดย้อนกลับไปพิจารณาความคิดเห็นอันเป็นจุดยืนของ ตน ซึ่งอาจทําให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นหรือจุดยืนของตนหรือยืนยันจุดยืนของตนอย่างมั่นใจขึ้น
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้เหมาะสําหรับการสอนสาระที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาขัดแย้ง ต่างๆ ซึ่งยากแก่การตัดสินใจ การสอนตามรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจอย่างชาญ ฉลาด รวมทั้งวิธีการในการทําความกระจ่างในความคิดของตน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 นําเสนอกรณีปัญหา
ประเด็นปัญหาที่นําเสนอควรเป็นประเด็นที่มีทางออกให้คิดได้หลายคําตอบ ควร เป็นประโยคที่มีคําว่า “ควรจะ...” เช่น ควรมีกฎหมายให้มีการทําแท้งได้อย่างเสรีหรือไม่ควรมีการจด ทะเบียนโสเภณีหรือไม่ควรออกกฎหมายห้ามคนสูบบุหรี่หรือไม่ควรอนุญาตให้นักเรียนประกวด นางงามหรือไม่อย่างไรก็ควรหลีกเลี่ยงประเด็น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน
วิธีที่นําเสนออาจจะทําได้หลายวิธี เช่น การอ่านเรื่องให้ฟัง การให้ดูภาพยนตร์ การเล่าประวัติความเป็นมา ครูต้องระลึกอยู่เสมอว่าการนําเสนอปัญหานั้นต้องทําให้นักเรียนได้รู้ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหารู้ว่าใครทําอะไร เมื่อไหร่ เพราะเหตุใด และมีแง่มุมของปัญหาที่ขัดแย้ง กันอย่างไร ให้ผู้เรียนประมวลข้อเท็จจริงจากกรณีปัญหาและวิเคราะห์หาค่านิยมที่เกี่ยวข้องกัน
ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงจุดยืนของตนเอง ผู้เรียนเลือกจุดยืนของตนเองว่าจะเข้ากับฝ่ายใดและบอกเหตุผลของการเลือก ขั้นที่ 3 ผู้สอนซักค้านจุดยืนของผู้เรียน ผู้สอนใช้คําถามที่มีลักษณะดังตัวอย่างต่อไปนี้
3.1 ถ้ามีจุดยืนอื่นๆ ให้เลือกอีก ผู้เรียนยังยืนยันที่จะเลือกจุดยืนเดิมหรือไม่ เพราะอะไร
3.2 หากสถานการณ์เปลี่ยนไป ผู้เรียนยังจะยืนยันที่จะเลือกจุดยืนเดิมหรือไม่ เพราะอะไร
3.3 ถ้าผู้เรียนต้องเผชิญกับสถานการณ์อื่นๆ จะยังยืนยันจุดยืนนี้หรือไม่
3.4. ผู้เรียนมีเหตุผลอะไรที่ยึดมั่นกับจุดยืนนั้น จุดยืนนั้นเหมาะสมกับ สถานการณ์ที่เป็นปัญหานั้นหรือไม่
3.5 เหตุการณ์ที่ยึดมั่นกับจุดยืนนั้นเป็นเหตุผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เป็นอยู่หรือไม่
3.6 ผู้เรียนมีข้อมูลเพียงพอที่จะสนับสนุนจุดยืนนั้นหรือไม่
3.7 ข้อมูลที่ผู้เรียนใช้เป็นพื้นฐานของจุดยืนนั้นถูกต้องหรือไม่
3.8 ถ้ายึดจุดยืนนี้แล้วผลที่เกิดขึ้นตามมาคืออะไร
3.9 เมื่อรู้ผลที่จะเกิดตามมาแล้ว ผู้เรียนยังยืนยันที่จะยึดถือจุดนี้อีกหรือไม่
ขั้นที่ 4 ผู้เรียนทบทวนจุดยืนในค่านิยมของตนเอง
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือยืนยันในค่านิยมที่ยึดถือ
ขั้นที่ 5 ผู้เรียนตรวจสอบและยืนยันจุดยืนใหม่-เก่าของตนอีกครั้ง และผู้เรียน พยายามหาข้อเท็จจริงต่างๆ มาสนับสนุนค่านิยมของตน เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนยึดถืออยู่นั้นเป็นค่านิยมที่ แท้จริงของตน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความกระจ่างในความคิดของตนเองเกี่ยวกับค่านิยม และเกิดความ เข้าใจในตนเอง รวมทั้งผู้สอน ได้เรียนรู้และเข้าใจความคิดของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียน มีการมองโลกใน แง่มุมกว้างขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของผู้เรียนด้วย
2.3 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role Playing Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ พัฒนาขึ้นโดยแชฟเทล และแชฟ เทล (Shaftel and Shaftel, 1967 : 67 - 71) ซึ่งให้ความสําคัญกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล เขากล่าว ว่า บุคคลสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความรู้สึกนึกคิดและค่านิยมต่างๆ ของบุคคล เป็นผลมาจากการที่บุคคลมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และได้สั่งสมไว้ภายใน ลึกๆ โดยที่บุคคลอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ การสวมบทบาทสมมติเป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงความรู้สึก นึกคิดต่างๆ ที่อยู่ภายในออกมา ทําให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา และนํามาศึกษาทําความเข้าใจกันได้ ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกัน การที่บุคคลสวม บทบาทของผู้อื่น ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้ เช่นเดียวกัน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของ ผู้อื่น และเกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 นําเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ ผู้สอนนําเสนอสถานการณ์ ปัญหา และบทบาทสมมติ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริงและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย และความสามารถของผู้เรียน บทบาทสมมติที่กําหนด จะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเปิดเผยความคิดความรู้สึกของตนมาก บทบาทที่ ให้ควรมีลักษณะเปิดกว้าง กําหนดรายละเอียดให้น้อย แต่ถ้าต้องการจะเจาะประเด็นเฉพาะอย่าง บทบาท สมมติอาจกําหนดรายละเอียดควบคุมการแสดงของผู้เรียนให้มุ่งประเด็นเฉพาะนั้น
ขั้นที่ 2 เลือกผู้แสดง ผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันเลือกผู้แสดง หรือให้ผู้เรียน อาสาสมัครก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการวินิจฉัยของผู้สอน
ขั้นที่ 3 จัดฉาก การจัดฉากนั้นจัดได้ตามความพร้อมและสภาพการณ์ที่เป็นอยู่
ขั้นที่ 4 เตรียมผู้สังเกตการณ์ ก่อนการแสดงผู้สอนจะต้องเตรียมผู้ชมว่า ควร สังเกตอะไร และปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
ขั้นที่ 5 แสดง ผู้แสดงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทําให้ผู้ชมเข้าใจ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ ผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามบทบาทที่ตนได้รับให้ดีที่สุด
ขั้นที่ 6 อภิปรายและประเมินผล การอภิปรายผลส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย การอภิปรายจะเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ การแสดงออกของผู้แสดง และควรเปิด โอกาสให้ผู้แสดงได้แสดงความคิดเห็นด้วย
ขั้นที่ 7 แสดงเพิ่มเติม ควรแสดงเพิ่มเติม หากผู้เรียนเสนอแนะทางออกอื่น นอกเหนือจากที่ได้แสดงไปแล้ว
ขั้นที่ 3 อภิปรายและประเมินผลอีกครั้ง หลักจากการแสดงเพิ่มเติม กลุ่มควร อภิปราย และอภิปรายผลเกี่ยวกับการแสดงครั้งใหม่ด้วย
ขั้นที่ 9 แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสรุปผลการ อภิปรายของกลุ่มตน และหาข้อสรุปรวม หรือการเรียนรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดเห็น ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรมของบุคคล
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ของผู้อื่น รวมทั้งมีความเข้าใจในตนเองมากขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น