วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

กระบวนการคิด


5 มิติการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6 ด้านคือ
               5.1 มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด การคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้ จําเป็นต้องมี 5ะกอบอย่างน้อย 2 ส่วน คือ เนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิด คือต้องมีการคิดอะไร ควบคู่ไป การคิดอย่างไร ซึ่งเรื่องหรือข้อมูลที่คิดนั้น มีจํานวนมากเกินกว่าที่จะกําหนดได้ อย่างไรก็ตาม อาจจัดกลุ่ม ในก๓ ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ (โกวิท วรวิพัฒน์ อ้างถึงในอุ่นตา นพคุณ, 2530 : 29 - 36)
            5.2 มิติด้านคุณสมบัติที่เอื้ออํานวยต่อการคิด ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคล ซึ่งมีผลโดยตรง หรือโดยอ้อมต่อการคิดและคุณภาพของการคิด เช่น ใจกว้าง ความใฝรู้ความกระตือรือร้น ความกล้าเสียง เป็นต้น
            5.3 มิติด้านทักษะการคิด หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งจัดได้ เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (basic thinking skills) ประกอบด้วยทักษะที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น ทักษะการอ่าน การพูด การเขียน ฯลฯ ทักษะการคิดที่เป็นแกน (core thinking skills) เช่น ทักษะการ สังเกต การเปรียบเทียบ เชื่อมโยง ฯลฯ และทักษะการคิดขั้นสูง (higher order thinking skill) เช่นทักษะการ นิยาม การสร้าง การสังเคราะห์ การจัดระบบ ฯลฯ ทักษะการคิดขั้นสูงมักประกอบด้วย กระบวนการ หรือ ขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะการคิดขั้นที่ต่ํากว่า
            5.4 มิติด้านลักษณะการคิด เป็นประเภทของการคิดที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความเป็น นามธรรมสูง จําเป็นต้องมีการตีความให้เห็นเป็นรูปธรรม จึงจะสามารถเห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการคิด ชัดเจนขึ้น เช่น การคิดกว้าง การคิดลึกซึ้ง การคิดละเอียด เป็นต้น
            5.5 มิติด้านกระบวนการคิด เป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักหลายขั้นตอน ซึ่งจะ นําผู้คิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะของการคิดนั้น โดยขั้นตอนหลักเหล่านั้นจําเป็นต้องอาศัยทักษะการคิดย่อยๆ จํานวนมากบ้าง น้อยบ้าง กระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการวิจัย เป็น
            5.6 มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของตน (meta-cognition) เป็นกระบวนการที่ บุคคลใช้ในการควบคุมกํากับการรู้คิดของตนเอง มีผู้เรียกการคิดลักษณะนี้ว่า เป็นการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ (Strategic thinking) ซึ่งครอบคลุมการวางแผน การควบคุมกํากับการกระทําของตนเอง การตรวจสอบ ความก้าวหน้า และประเมินผล
นอกจากการนําเสนอมิติการคิดข้างต้นแล้ว ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) ยังได้นํานะ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) ซึ่งเป็นผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการคิดทั้ง ของต่างประเทศและของประเทศไทย ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
จุดมุ่งหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เพื่อให้ได้ความคิดที่รอบคอบสมเหตุสมผล ผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบค้านอย่างกว้า ลึกซึ้ง และผ่านการพิจารณากลั่นกรอง ไตร่ตรอง ทั้งทางด้านคุณ - โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้น
เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ จะมีความสามารถดังนี้
              1. สามารถกําหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
             2. สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
            3. สามารถประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิด ทั้งทาง กว้าง ทางลึก และไกล
             4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
             5. สามารถประเมินข้อมูลได้
             6. สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล และเสนอคําตอบ/ทางเลือกที่สมเหตุสมผลได้
              7.สามารถเลือกทางเลือกลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้ วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
              1.ตั้งเป้าหมายในการคิด
             2. ระบุประเด็นในการคิด
            3. ประมวลข้อมูล ทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทั้งทาง กว้าง ลึก และไกล
             4. วิเคราะห์ จําแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูล และเลือกข้อมูลที่จะนํามาใช้
             5. ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ
             6. ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือก/คําตอบที่สมเหตุสมผลตาม ข้อมูลที่มี
            7. เลือกทางเลือกที่เหมาสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมา และคุณค่าหรือความหมายที่ แท้จริงของสิ่งนั้น
  8. ชั่งน้ําหนัก ผลได้ ผลเสีย คุณ โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว
            9. ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ
10 ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด
6. กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ (2542 ข : 3 – 4) ผู้อํานวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา
นักคิดคนสําคัญของประเทศ ได้อภิปรายไว้ว่า หากเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไปได้ เม่ถูกหลอกง่าย และสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ เราจึงจําเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย “คิด
การคิดที่ถูกต้อง และท่านได้เสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาความสามารถในการคิดใน 10 มิติ
โดยท่านได้ให้ความหมายของการคิดใน 10 มิติดังกล่าวไว้ ซึ่งผู้เขียนขอประยุกต์มาใช้เป็น ทางในการจัดการเรียนการสอนสําหรับครูเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียนดังนี้
มิติที่ 1 ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ จะสอนท้าทาย และโต้แย้งข้อสมมติฐานที่อยู่เบื้องหลังเหตุผลที่โยงความคิดเหล่านั้น เพื่อเปิดทางสู่ แนวความคิดอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้
มิติที่ 2 ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ (analytical thinking) พัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดย 1. ผู้เรียนสืบค้นข้อเท็จจริง เพื่อตอบคําถามเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง โดยการตีความ (interpretation) ละจําแนกแยกแยะ (classification) และการทําความเข้าใจ (understanding) กับองค์ประกอบของสิ่งนั้นและ
ประกอบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กัน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (causal relationship) ที่ไม่ขัดแย้ง กันระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นด้วยเหตุผลที่หนักแน่น น่าเชื่อถือ
มิติที่ 3 ความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis type thinking) และการฝึกให้ ผู้เรียนรวมองค์ประกอบที่แยกส่วนกัน มาหลอมรวมภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยพัฒนา ผู้เรียนความสามารถของผู้เรียนในการคิดเชิงสังเคราะห์ได้
มิติที่ 4 ความสามารถในการคิดเชิงเปรียบเทียบ (comparative thinking) การฝึกให้ผู้เรียน ค้นหาความเหมือนและ/หรือความแตกต่างขององค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไป เพื่อใช้ในการ อธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งบนมาตรการ (Criteria) เดียวกัน เป็นวิธีการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดเชิง เปรียบเทียบได้ดี
มิติที่ 5 ความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ (conceptual thinking) ผู้เรียนจะสามารถพัฒนา ทักษะในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกการนําข้อมูลทั้งหมดมาประสานกันและสร้างเป็นกรอบความคิดใหม่ ขึ้นมาใช้ในการตีความข้อมูลอื่นๆ ต่อไป
มิติที่ 6 ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking) ความสามารถด้านนี้ "สนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิดออกนอกกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ ทําให้ได้แนวทางใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
กัดต่างๆ เพื่อบรรลุ
กาS
มิติที่ 7 ความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ (applicative thinking) การคิดประเภทนี้เม. ประโยชน์ต่อชีวิตประจําวันมาก ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกนําสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่เดิมไปใช้ประโยชน์ วัตถุประสงค์ใหม่ และปรับสิ่งที่มีอยู่เดิมให้เข้ากับบุคคล สถานที่ เวลา และเงื่อนไขใหม่ได้อย่างเหมาะสม
มิติที่ 8 ความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic thinking) ความสามารถใน พัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนกําหนดแนวทางที่เป็นรูปธรรมที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจํากัดต่างๆ เพื่อ เป้าหมายที่ต้องการ
มิติที่ 9 ความสามารถในการคิดเชิงบูรณาการ (integrative thinking) คือการฝึกให้ เชื่อมโยงเรื่องในมุมต่างๆ เข้ากับเรื่องหลักๆ ได้อย่างเหมาะสม
มิติที่ 10 ความสามารถในการคิดเชิงอนาคต (futuristic thinking) เป็นความสามารถใน คิดขั้นสูง ซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคาดการณ์ และประมาณการการเปลี่ยนแปลงต่าง อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการใช้เหตุผลทางตรรกวิทยา สมมติฐาน ข้อมูลและความสัมพันธ์ต่างๆ ของ อดีตและปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์ ทิศทางหรือขอบเขตทางเลือกที่เหมาะสมอีกทั้งมีพลวัตรสอดคล้องกันการ เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2532) นักวิชาการคนสําคัญท่านหนึ่งในวงการศึกษาได้เสนอความ เกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่า ควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม และดําเนินการ สอนตามขั้นตอนดังนี้
7.1 กําหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
7.2 เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
7.3 ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
7.4 แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
7.5 ฝึกพฤติกรรมโดยมีผลสําเร็จ
7.6 เพิ่มระดับความขัดแย้ง
7.7 ให้ผู้เรียนประเมินตนเอง
7.8 กระตุ้นให้ผู้เรียนยอมรับตัวเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น