วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้


การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
            ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีพื้นฐานที่เป็นสาระสำคัญและรู้อะไรแล้ว กำหนดขอบข่ายว่านักเรียนจำเป็นต้องรู้สาระอะไร และจะต้องทำอะไรได้ ผู้เรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใด ควรทำอะไรได้บ้าง และควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากำหนดจุดหมาย 4 ประการ ได้แก่
            1. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉเพาะเรื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็นเรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆ นอกห้องเรียน
            2. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ นักเรียนควรมีโอกาสผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้นๆ เพื่อจะได้เรียนรู้ว่า องค์ความรู้ในศาสตร์นั้นๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
            3. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเพียงใด มีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่จะนักเรียนจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง หัวข้อเหล่านี้ ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
            4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน มีหลายหัวข้อ หลายกิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เป็น ประตูไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่า หากสามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจ จะช่วยทำให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป

การวางแผนการจัดการเรียนรู้
                        เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปธรรมแล้วผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
                        ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กำหนดไว้
                        กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น
                        การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น