วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การสอนเพื่อความเข้าใจ: การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ


การสอนเพื่อความเข้าใจ: การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
การกำหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูจะพิจารณาว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้ว จากนั้นกำหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรมีสิ่งที่ จำเป็นต้องรู้และจำเป็นต้องทำ นักเรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใด และควรทำอะไรได้บ้าง ควรมีความ เข้าใจที่ยังเป็นอะไรบ้าง ครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมิน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก (ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจน) จึงจะสามา" พัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design)

Wiggin ได้เสนอกระบวนการออกแบบ การเรียนรู้ที่ย้อนกลับ จากจุดหมายการเรียนรู้และมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตร ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการประเมินการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน เริ่มจากวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่า หากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ จะต้องพิจารณาจากสิ่งใดหรือจากหลักฐานอะไร จึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์ วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมีความชัดเจนในเรื่องจุดหมาย และออกแบบให้ให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและจุดหมายที่พึงประสงค์ การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design) จะมี 3 ขั้นตอน ดังนี้
            1. การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
            2. การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
            3. การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น