วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

พหุปัญญา (Multiple Intelligences)


           Howard Gardner (2011) Gardner, Howard. Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences. New York: Basic Books, 2011. ได้พัฒนาทฤษฎีพหุปัญญาโดยทฤษฎีโต้แย้งความคิดเกี่ยวกับความเก่งและปัญญาของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว นั้นไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ที่แนวคิดเดิมเน้นปัญญาของมนุษย์เพียงสองด้าน คือ ด้านภาษาและด้านคณิตศาสตร์ การ์ดเนอร์ได้เสนอแนวคิดว่าปัญญาที่หลากหลายหรือพหุปัญญาจะพบในทุกวิถีชีวิต การเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากตัวป้อนที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน ผู้เรียนอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์ หรืออาจจะมีกระบวนการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่า ที่เหนือชั้นกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น การ์ดเนอร์เสนอว่าปัญญามีอยู่ 8 ด้าน ดังต่อไปนี้
            1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence) เป็นปัญญาความสามารถในการใช้ถ้อยคำ(“word smart")
            2. ปัญญาค้านตรรกะ - คณิตศาสตร์ (Logical-mathematical intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถทางด้านจำนวนตัวเลขและเหตุผล (“number/reasoning smart”)
            3. ปัญญาด้านมิติ (Spatial intelligence) เป็นปัญญาความสามารถด้านการคิดเป็นรูปภาพ สามารถมองเห็นโลกในรูปของภาพ และสามารถจำลองสร้างภาพนั้น ๆ ได้ (“picture smart”)
            4. ปัญญาทางค้านคนตรี (Musical intelligence) เป็นปัญญาที่มีความสามารถสูงทางด้านดนตรี คือ ความสามารถและชื่นชมในเสียง ทำนองจังหวะ และสามารถผลิตสียง ทำนอง จังหวะได้ดี(“music smart”)
            5. ปัญญาด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว (Bodily-Kinesthetic intelligence) เป็นปัญญา ความสามารถพิเศษในการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกาย และในการใช้มือเพื่อจัดกระทำกับสิ่งของ (“body smart)
            6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถพิเศษ ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความเข้าใจผู้อื่นสามารถที่จะสังเกตรับรู้อารมณ์ ความคิดความปรารถนาของผู้อื่น (“people smart”)
            7. ปัญญาด้านด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal intelligence) เป็นปัญญาความสามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้ดี (“self smart”)
            8. ปัญญาด้านการเข้าใจเรื่องธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นปัญญาความสามารถสังเกต เชื่อมโยงข้อมูลกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ (nature smart”)
            สาระสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญา คือ ทุกคนมีปัญญาทั้ง 8 ด้านนี้ในตน และปัญญาแต่ละด้านสามารถพัฒนาให้อยู่ในระดับใช้การได้ การ์ดเนอร์กล่าวสรุปไว้ว่า ปัญญาทั้ง 8 ด้านจะสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน กิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตจะไม่มีกิจกรรมใดที่ใช้เฉพาะปัญญาด้านใดด้านเดียว คำแนะนำที่ดีก็คือ ไม่ทุ่มเทไปที่ปัญญาด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว แต่ควรจะสัมพันธ์ปัญญาหลายๆ ด้านในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น