วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

กระบวนการแก้ปัญหาตามอริยสัจ4 และ กัลยาณิมิตร


1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดย สาโรช บัวศรี
สาโรช บัวศรี (2526) มีนักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็น ผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนําหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า 20 ปีมาแล้ว โดย การประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค มาใช้เป็นกระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้ ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่ากิจในอริยสัจ 4” อันประกอบด้วย ปริญญา (การกําหนดรู้) ปหานะ (การละ) สัจฉิกิริยา การทําให้แจ้ง) และภาวนา (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ) จากหลักทั้งสอง ท่านได้เสนอแนะ การสอนกระบวนการแก้ปัญหาไว้เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นกําหนดปัญหา (ขั้นทุกข์) คือ การให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย) คือ การให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และ ตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ) คือ การให้ผู้เรียนกําหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ ทดลองเพื่อ
4.วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขั้นมรรค) คือการนําข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
2. กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์
สุมน อมรวิวัฒน์(2524 : 196 - 199) ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง สาขาการศึกษาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้อธิบายกระบวนการกัลยาณมิตรไว้ว่า เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1. ชี้ทางบรรเทาทุกข์ 2. ชี้สุขเกษมศานติ์กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้พ้นทุกข์ได้ คือหลักอริยสัจ 4 มาใช้ควบคู่กับหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 เรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการหรือขั้นตอน 8 ขั้นด้วยกันดังนี้
2.1 หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ได้แก่ การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นที่น่าเคารพรัก เป็นที่พึ่งแก่ผู้เรียนได้ มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ สามารถสื่อสาร ชี้แจง ให้ศิษย์เกิดความเข้าใจ แจ่มแจ้ง มีความอดทน พร้อมที่จะรับฟังคําปรึกษาและมีความ เมตตา ช่วยให้ผู้เรียนพ้นจากทางเสื่อม
2.2 การกําหนดและจับประเด็นปัญหา (ขั้นทุกข์)
2.3 การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
2.4 การจัดลําดับความเข้มของระดับปัญหา (ขั้นสมุทัย)
2.5 การกําหนดจุดหมาย หรือสภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.6 การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.7 การจัดลําดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.8 การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง (ขั้นมรรค)
3. กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี
ประเวศ วะสี (2542) นักคิดคนสําคัญของประเทศไทย ผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้ เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น ท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญา ซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียน ประกอบด้วย ขั้นตอน 10 ขั้น ดังนี้
3.1 ฝึกสังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่างๆ ให้มาก ให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3.2 ฝึกบันทึก ให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่างๆ และจดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
3.3 ฝึกการนําเสนอต่อที่ประชุม เมื่อผู้เรียนได้ไปสังเกตหรือทําอะไร หรือเรียนรู้อะไรมาให้ ฝึกนําเสนอเรื่องนั้นต่อที่ประชุม
3.4 ฝึกการฟัง การฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มาก ผู้เรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
3.5 ฝึกปุจฉา วิสัชนา ให้ผู้เรียนฝึกการถาม – การตอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้ง ในเรื่องที่ศึกษา รวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล การวิเคราะห์และการสังเคราะห์
3.6 ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคําถาม ให้ผู้เรียนฝึกคิดและตั้งคําถาม เพราะต้อง สําคัญในการได้มาซึ่งความรู้ ต่อไปจึงให้ผู้เรียนฝึกตั้งสมมติฐาน และหาคําตอบ
3.7 ฝึกการค้นหาคําตอบ เมื่อมีคําถามและสมมติฐานแล้ว ควรให้ผู้เรียน แหล่งต่างๆ เช่น หนังสือ ตํารา อินเตอร์เน็ต หรือไปสอบถามจากผู้รู้ เป็นต้น
3.8 ฝึกการวิจัย การวิจัยเป็นกระบวนการหาคําตอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนกัน
3.9 ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ บูรณาการ ให้เห็นความเป็นทั้งหมด และเห็นตัวเองเป็น เรียนรู้อะไรมาแล้ว ควรให้ผู้เรียนเชื่อมโยงให้เห็นความเป็นทั้งหมด และเกิดการรู้ตัวเองตา สัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร อันจะทําให้เกิดมิติทางจริยธรรมขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนได้ ร่วมกันอย่างสันติ
3.10 ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกเรียบเรียงความรู้ที่ได้ การเรียบเรียงจะช่วยให้ความคิดประณีตขึ้น ทําให้ต้องค้นคว้าหาหลักฐาน ความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยําขึ้น การเรียบเรียงทางวิชาการเป็นวิธีการสําคัญในการพัฒนาปัญญาของตน ประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป
4. กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2542 : 4 - 5) นักรัฐศาสตร์ และราชบัณฑิต สํานักธรรมศาสตร์และ การเมือง และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย นักคิดผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางาน ทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของการคิดไว้ว่า การคิดของคนเรามีหลาย รูปแบบ โดยท่านได้ยกตัวอย่างมา 4 แบบ และได้อธิบายลักษณะของนักคิดทั้ง 4 แบบไว้ซึ่งผู้เขียนจะขอ นํามาประยุกต์เป็นแนวทางในการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของผู้เรียนได้ ดังนี้
4.1 การคิดแบบนักวิเคราะห์ (analytical) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถใน การคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อเท็จจริง (fact) คูตรรกะ (logic) ทิศทาง (direction) หาเหตุผล (reason) และมุ่งแก้ปัญหา (problem solving)
4.2 การคิดแบบรวบยอด (conceptual) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถใน การคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิดวาดภาพในสมองสร้างความคิดใหม่จากข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอน หรือ มองข้อมูลเพิ่มในแง่มุมใหม่และส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าทํา
4.3 การคิดแบบโครงสร้าง (Structural thinking) การฝึกให้ผู้เรียนแยกแยะส่วนประกอบ
ศึกษาส่วนประกอบ และเชื่อมโยงข้อมูล จัดเป็นโครงสร้างจะทําให้ผู้เรียนมีการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถ ตัดสินว่า ควรจะทําอะไรอย่างไร
4.4 การคิดแบบผู้นําสังคม (Social thinking) การฝึกให้ผู้เรียนปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับผู้อื่น ทํา ตนเป็นผู้อํานวยความสะดวก (facilitator) ฝึกทักษะกระบวนการทํางานรวมกันเป็นทีม (group process) และ ฝึกให้คิด 3 ด้าน ที่เรียกว่า “PMI” คือด้านบวก (plus) ด้านลบ (minus) และด้านที่ไม่บวกไม่ลบ แต่เป็นด้านที่ ไม่สนใจ (interesting)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น