วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

ประเภทของสื่อ

        สื่อสามารถจำแนกได้ สี่ ประเภท คือ สื่อทางหู (audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกัน(audio – visual) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆสำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้
            1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทปแผ่นสี วิทยุกระจายเสียง
            2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็นของจริง รูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส่
            3. สื่อทางหูทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทปภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิทัล วีดิโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital Video interactive technology)
            4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
         
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
           ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท ตารางที่ 16 จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสำคัญ 4 ประเภทและตารางที่ 17 แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
           
การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ
            การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อนและเลือกสื่อที่จำเป็นในการในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird:180)เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทางหลวง (highway) ที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุ)เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม (accessories)บนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น
             วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน Joyce and Weil (1980)เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจำลองการสอน (model of teaching)แบบจำลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนมากว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร
         
การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
            สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสลการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคำที่ใช้อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน (Mode of delivery) จึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่านแบบการเรียนการนั้น ในทางตรรกะแล้วเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ (Hardware) และส่วนที่เป็นวัสดุ(software) สำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ต้องอาศัยโปรแกรมพื้นฐาน
             การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำได้ก่อน ทำตามหลัง หรือทำไปพร้อมๆกับการตกลงใจเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วๆ ไปแล้ว จะทำตามหลังหรือทำไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของสื่อหรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
               ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการ/สื่อ ออกเป็นสามประเภทคือ วิธีการ (methods) สื่อดั้งเดิม(traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดำเนินหลักสูตรโดยทั่วไปซึ่งอาจจะรวมๆ กัน แต่จะใช้สื่อรวมๆ กัน ส่วนสื่อเดิมๆ จะรวมถึงงานพิมพ์ (print) และสื่อโสตทัศน์(audiovisual media) และสำหรับเทคโนโลยีใหม่ หรือสื่อดิจิทัล คือ การสื่อสารโทรคมนาคมและไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) สื่อ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ (print materials) ทัศนวัสดุไม่ฉาย (nonprojected visuals) ทัศนวัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง(audio media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television) สื่อแต่ละประเภทเหล่านี้สามารถแตกออกให้เลือกได้ในหลายรูปแบบ ดังแสดงในตารางที่ 18 และตารางที่ 19


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น