วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

แบบจำลองการเลือกสื่อ

           แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสื่อมีหลายแบบ สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อแตกต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคือแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไรและพิจารณาว่ามีอะไรเป็นนัยของความต่าง แต่ละแบบจำลองพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการเลือกและการใช้ประโยชน์จากวัสดุ ให้สังเกตภาพที่ 7 ซึ่งไม่ได้นำมาเสนอวิธีการเลือกสื่อที่ตายตัว และภาพที่ 8 ซึ่งใช้สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอนของกองทัพอากาศ
           
แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
            ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน(William allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับกับจำแนกจุดประสงค์และการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สื่อสำหรับวัดชนิดของการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลนี้ ออลเลนได้สร้างตารางแจกแจงสองทาง ซึ่งจำแนกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ ตามชนิดของการเรียนรู้ เมื่อใช้แบบจำลองนี้ผู้ออกแบบควรพยายามหลีกเลี่ยงสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำกับชนิดของการเรียนรู้ (aiien,1967 : 27-31) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ออกแบบเลือกสื่อที่ให้ผลสัมฤทธิ์ต่ำหรือปานกลางผู้ใช้ควรรับรู้ข้อจำกัด
            
แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
                แบบจำลองเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) ได้เป็นที่รู้จักกันในปี ค.ศ. 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลีได้นำเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนหลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอน (entering behaviors) แล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ 1 ความเหมาะสมทางปัญญา (สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ 2 ระดับความเข้าใจ (สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ 3 ราคาประการที่ 4 ประโยชน์ (เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุมีประโยชน์หรือไม่) และประการที่ 5 คุณภาพทางเทคนิค(คุณลักษณะทางการฟังและการดูของการผลิตมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่) (Gerlach and Ely,1980) ภาพที่ 5 จะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของจุดประสงค์กับทางเลือกในการเลือกสื่อตำราของเยอร์ลาชและอีลีไดมีการพิมพ์ครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1980 โดยที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนขึ้นสำหรับครูทุกระดับ ดังภาพประกอบที่ 5

ภาพประกอบที่ 5 แบบจำลองการเรียนการสอน
ที่มา :Frederick G. Knirk, and Kent L. Gustafson, Instructional Technology A Systematic Approach to Education (New York : Holt, Rinehart and Winston,1986), p.170

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น