วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่สื่อดิจิทัล

           เทคโนโลยีใหม่/สื่อดิจิทัล ประกอบด้วย การเรียนการสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นพื้นฐาน(computer – based instruction) และการเรียนรู้ทางไกล ที่อาศัยเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน (telecommunications – based distance learning technologies) การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่หนึ่งเทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ดังแสดงที่ตาราง 18 นิยามศัพท์เฉพาะสื่อและเทคโนโลยี
            การพิจารณาเลือกสื่อ
                 มีหลักการทั่วไปจำนวนมาก และข้อพิจารณาอื่นๆ ในการเลือกสื่อที่เหมาะสำหรับการเรียนการสอน คือ กฎในการเลือกสื่อและปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ
            ตารางที่ 18 ทางเลือกสำหรับสื่อดั้งเดิม
ทัศนวัสดุฉาย : ไม่เคลื่อนไหว (Projected Visuals : Stacie)
ทัศนวัสดุไม่ฉาย (Non Projected Visuals)
Opaque Projection
Pictures
Overhead Projection
Photographs
Slides
Charts graphs diagrams
Filmstrips
Displays-exhibits, feltboards, bulletin boards
สื่อ (Media )(Multimedia presentation)
การนำเสนอด้านสื่อผสม
Records
Sound slide
rape-reel ,cassette cartridge
Multi -image
Audio cards
Film-cassette , multimedia kit
สื่อพิมพ์ (Print) (Projected Visuals : Stacie)
ทัศนะวัสดุฉาย : ไม่เคลื่อนไหว
Text book
Film
Television
Programmed text
8 mm
8 mm
Super 8 mm                          ½ inch

16 mm                                   ¾ inch

35 mm                                    1 inch

เกมส์ (Games)
ของจริง (Realia)
Board games
Models
Simulation games
Manipulative
Puzzles
Specimens

ที่มา : Barbara Seels and Zita Glasgow , Exercises in Instructional Design (Columbus, Ohio : Merrill Publishing company, 1990),p.182.
             กฎในการเลือกสื่อ
             การเลือกสื่อมีกฎอยู่ 6 ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไปในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจอย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
            กฎที่ 1 การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (two way medium) นักเรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ/สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
            กฎที่ 2 สื่อทางเดียว (one – way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูลป้อนกลับตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์ จะให้ประสิทธิผลมากกว่า เมื่อมีคู่มือการใช้ควบคู่ไปด้วย หรือมีแบบฝึกปฏิบัติควบคู่ไปด้วย หรือมีครู ซึ่งสามารถที่จะถามคำถามและตอบคำถามได้
            กฎที่ 3 การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้าอาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม (remedial exercises) ตัวอย่างเสริมเป็นพิเศษ สื่อภาพยนตร์ ควรจะส่งเสริมโดยการเยียวยาแก้ไขหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละบุคคล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะสนองตอบได้อย่างดีเลิศในความยืดหยุ่นที่มีต่อปัจจัยบุคคล
            กฎที่ 4 การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ต้องการสื่อทางทัศนวัสดุ ตัวอย่างนักเรียนพญาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม จำเป็นต้องเห็นการสาธิต (ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การสาธิตของจริง) มากกว่าที่จะเขียนออกมาเป็นรายการของวิธีการตัดไหม
            กฎที่ 5 พฤติกรรมที่คาดหวังหลังการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะที่แสดงออกมาไม่เป็นการเพียงพอ ตัวอย่าง ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องทำการตัดไหมตามที่เห็นในวีดิทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไหมเทียมๆหรือตัดไหมจริงๆ 
            กฎที่ 6 เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ อาจต้องการการเลือกสื่อที่มีความแตกต่างกัน ตัวอย่าง ทฤษฎีที่อยู่บนหลักการของวิธีการทำหมัน อาจต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ในขณะที่วิธีการตัดไหม อาจจะต้องการสาธิตที่มีความเป็นจริงมากกว่า (วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ)
            ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
            ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งจำเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ
            ตารางที่ 19 เทคโนโลยีใหม่
Telecommunication-based
Teleconferencing
Telelectures
Microprocessor-based
Computer-assisted instruction
Computer Games
Expert Tutoring Systems
Hypermedia
Interactive Video
Computer-managed Instruction
Compact Disc

            ตารางที่ 20 ข้อควรพิจารณาในการเลือกสื่อ
ปัจจัย
ตัวอย่าง
1. สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้
บ้าน ที่ทำงานชั้นเรียน ม้านั่ง
2.ประสิทธิผลในการลงทุน
ราคาต่อห้อง และราคาในการดำเนินงาน
3.แหล่งวัสดุอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เพียงพอ การพัฒนาภาพยนตร์ สตูดิโอ การพิมพ์
วัสดุอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสม มีระเบียบเรียบร้อย
4.ความสะดวกในการใช้ตำแหน่งที่ตั้ง เวลาที่มีสำหรับการเตรียมตัว
เช่น ใช้มากน้อยเท่าไหร่ บ่อยเท่าไร ขนาดของกลุ่ม
5.สิ่งที่ไม่จำเป็น
สีมีความจำเป็นหรือไม่ ตำราเพียงพอ หรือสไลด์ที่จะใช้ในการนำเสนอเพียงพอหรือไม่
6.ทรัพยากรมนุษย์หาได้ง่ายหรือไม่
ผู้ชำนาญการพิเศษด้านวิธีการผลิตสื่อหาได้ง่ายหรือไม่
7.นโยบาย
นโยบาย เจตคติต่อต้านการเปลี่ยนแปลงข้อขัดแย้งต่าง ๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น