วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร


นิยามการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร (Curriculum Based Assessment; CBA) คือ การให้ผู้เรียน ตามกิจกรรมที่ออกแบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ จากนั้นนำผลการทดสอบไปใช้ปรับปรุงการ 4การสอนให้ตอบสนองความต้องการจำเป็นของนักเรียน ผู้สอนนำผลการประเมินตามหลักสูตรมาใช้เพื่อ ปรับเปลี่ยนการสอนของตนเอง เพื่อช่วยผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องต่อไป หรือกรณีที่ผู้เรียนที่มีความ พร้อมและต้องการก้าวหน้ายิ่งขึ้น นักการศึกษาใช้การประเมินตามหลักสูตรเพื่อช่วยให้อัตราการพัฒนาการ เรียนการสอนสูงขึ้นได้ รวมถึงการปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน ด้วยการสังเกตและบันทึกการปฏิบัติของ นักเรียนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บรวบรวมได้จะช่วยในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการเรียนการสอน (Deno, 1987, p. 41). ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรนั้นการตัดสินใจ เกี่ยวกับการสอนขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับที่ได้จากการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่ระบุไว้ในหลักสูตร เป้าหมายแรกคือ แนวทางในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน (Blankenship, 1985; Graden, Zins, & Curtis, 1988; Marston & Magnusson, 1985) ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนตรงกับความต้องการของ ผู้เรียน อันเป็นการเพิ่มโอกาสที่ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีจุดเด่นที่บอกถึงภาระงานใดที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนา ความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนด การเลือกภาระงาน และกระบวนการใช้คะแนนมาตรฐาน และการ บริหาร ใช้การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไรนั้นก็แล้วแต่สถานการณ์ อาจใช้ข้อมูลที่ได้จากการ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ให้โปรไฟล์ของผู้เรียนได้ทั้งในระดับรายบุคคล ระดับชั้นเรียน ระดับ สถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลจากการประเมินตามหลักสูตรสามารถใช้เป็นกลุ่ม เปรียบเทียบ (norm-referenced manner) ที่ใช้เปรียบเทียบคะแนนของผู้เรียนรายบุคคลมา (Shinn, 1988) หรือ ใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบ (criterion-referenced manner) ความสามารถของผู้เรียน อันเป็นผลมาจากการเรียน การสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียน (Shinn & Good, 1992),
การประเมินผลการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษากรอบที่ใช้ในการอ้างอิงทฤษฎี ผลการศึกษาวิจัยของเควิด นิโคล (David Nicol University of Strathclyde สรุปเป็นหลักการป การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อ ดังนี้
1. ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร (เป้าหมาย เกณฑ์การวัด เกณฑ์มา ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทําในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเก ระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน
2. ให้เวลาและความพยายามกับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่มอบหมา กระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน อย่างลึกซึ้งแค่ไหน
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูก ตนเอง ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับหรือไม่ อย่างไร และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามา และปรับปรุงด้วยตนเองได้อย่างไร
4. สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวก ขอบเขต ประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสําเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหน
5. สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน (เพื่อน และคะ นักเรียน) มีโอกาสใดบ้างสําหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผลในรายวิชาที่
สอน
6. อํานวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทางด้านการ เรียน ขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสําหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ การประเมินตนเอง การประเมิน โดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน
7. ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล - เนื้อหาและกระบวนการ ขอบเขตของผู้เรียนสําหรับ การเลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล ค่าน้ําหนักคะแนน กําหนดเวลา และงานที่มอบหมายเพื่อการ ประเมินผล (งานที่ใช้ประเมินผลการประเมินผลงาน)ในรายวิชาที่สอน มีมากน้อยเพียงใด)
8. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการประเมินผลและการปฏิบัติขอบเขต ของข้อมูลที่ผู้เรียนได้รับหรือมีการส่วนร่วมให้คําปรึกษาเพื่อการตัดสินใจเรื่องการประเมินผลมีหรือไม่ อย่างไร
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ ขอบเขตของการประเมินผลและการให้ข้อมูล ย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้มีมากน้อยเพียงใด
10. ช่วยครูผู้สอนในการปรับการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของนักเรียน
ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการ กระบวนการประเมินการเรียนรู้  ดังต่อไปนี้
1.การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนชัดเจน
2. ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมิน
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4. การประเมินผลควรทำอย่างต่อเนื่อง
5 การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น