วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)

          Jon Wiles (2009 : 56-57) สรุปว่า สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) หมายถึง สถาวะแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทางกานภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์หรือทางภาษา โดยสามารถใช้อาคารในการจัดพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้โดยเฉพาะ จัดสื่อที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนแต่ละคนและเป็นสื่อ บูรณาการสะดวกเหมาะสมกับหลักสูตร เป็นศูนย์การเรียนรู้สื่อประสม เป็นต้น สภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมทางจิตใจหรือบรรยากาศทางจิตใจ ส่งผลต่อผู้เรียนทั้งทางบวกและทางลบ ตลอดจนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนได้  โดยสรุปสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) เกี่ยวข้องโดยตรงกับ การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ คือมีความรู้ สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
            Bob Pearlman อ้างถึงใน นฤมล ปภัสสรานนท์.2558 : 67-68 ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยตั้งคำถามว่า ความรู้และทักษะอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับ นักเรียนในศตวรรษที่ 21และควรตอบคำถามตามประเด็นคำถามต่อไปนี้
            -อะไร คือ หลักสูตร การเรียนการสอนและกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
            -สิ่งที่ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ทั้งระดับโรงเรียน และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน การมีส่วนร่วมของนักเรียน และการบริหารตนเอง
-เทคโนโลยีจะสามารถสนับสนุนการเรียนการสอน หลักสูตรและการประเมินผลของศตวรรษที่ 21 เพื่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ร่วมได้อย่างไร
-อะไร คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ(ห้องเรียนโรงเรียนและโลกแห่งความจริง) ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
จากการศึกษาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จากเว็บไซด์ ได้นำเสนอสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ว่า คือ ระบบสนับสนุนที่จัดสรร เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด เป็นระบบที่รองรับความต้องการ เพื่อการเรียนรู้ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนทุกคนและสนับสนุนความสัมพันธ์กับมนุษย์ในทางที่เป็นประโยชน์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เป็นการรวมเอาโครงสร้าง เครื่องมือและชุมชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนและนักศึกษา เพื่อที่จะบรรลุความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 นี้ ตามความต้องการของทุกคน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นระบบ ที่สอดคล้องกันได้อย่างลงตัว คือ
-สร้างข้อปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ ให้การสนับสนุนจากผู้คน โดยรอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะให้การสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลเชิงทักษะในศตวรรษที่ 21
-สนับสนุน ชุมชน การเรียนรู้ระดับมืออาชีพที่ช่วยให้นักศึกษา ทำงานร่วมกันแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ไปสู่การปฏิบัติในห้องเรียน
-ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในบริบทของศตวรรษที่ 21 (เช่นผ่านโครงการหรืองานอื่น ๆ ที่นำไปใช้)
-ช่วยให้เข้าถึง เครื่องมือการเรียนรู้ที่มีคุณภาพเทคโนโลยีและทรัพยากร
-จัดสรร ให้ออกแบบเชิงสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในศตวรรษทื่ 21 สำหรับการเรียนรู้แบบกลุ่ม ทีมงานและของแต่ละบุคคล
-รองรับ ชุมชนที่มี การขยายตัวและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศในการเรียนรู้ทั้ง การเรียนแบบเผชิญหน้า face to face และ ออนไลน์
กลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ (Classroom Instruction That works)
Marzano (2012) ได้นำเสนอกลวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพ ปรพกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.การสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)
2.การช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจ (Helping students Develop Understanding)
3.การช่วยให้ผู้เรียนให้ขยายและนำความรู้ไปใช้ (Helping students Extend and Apply Knowledge)
            กลวิธีที่ 1 เป็นพื้นฐานสำคัญ เมื่อผู้สอนสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนการติดตามและพัฒนาความรู้ของตนเอง
            กลวิธีที่ 2 เป็นการช่วยผู้เรียนในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ จัดการกับความรู้จัดลำดับและเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ ตรวจสอบความรู้และสร้างมโนทัศน์(Concept) ที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการบูรณาการและการเรียนรู้กระบวนการใหม่แต่ละประเภทของความรู้จะเกี่ยวข้องกับ 1.การสร้างขั้นตอนที่จำเป็นในแต่ละกระบวนการหรือทักษะ 2.พัฒนามโนทัศน์และความเข้าใจในกระบวนการและการปฏิบัติอย่างหลากหลาย 3.ปฏิบัติตามทักษะที่พัฒนาขึ้นอย่างเป็นประจำ
            กลวิธีที่ 3 คือ ช่วยผู้เรียนขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ความรู้ได้ความรู้มากกว่าคำตอบที่ถูกต้อง (right answer) โดยให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ขยายขอบข่ายความรู้ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตจรองเป็นบริบทแห่งความเป็นจริง (Real-world Contexts) มีความเป็นเหตุผล จึงเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น